วันศุกร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2553

จุดอ่อนของคนไทย 10 ประการ จากวิกรม กรมดิษฐ์

ต้องบอกว่าประเทศไทยเปิดศักราชปีเสือไม่โสภา เมื่อ ประธานองค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น (เจโทร กรุงเทพฯ)
ระบุว่าไทยอาจไม่เป็นประเทศที่น่าสนใจในการลงทุนเหมือนที่ผ่านมาในสายตา ของนักลงทุนญี่ปุ่น
ทำให้คิดถึงความคิดเห็นของ วิกรม กรมดิษฐ์ เจ้าพ่ออมตะนครที่เคยพูดถึง “จุดอ่อน” ของคนไทยไว้ 10 ข้อคือ

1 . คนไทยรู้จักหน้าที่ของตัวเองต่ำมาก โดยเฉพาะ หน้าที่ต่อสังคม เป็นประเภทมือใครยาวสาวได้สาวเอา เกิดเป็น ธุรกิจการเมือง
ธุรกิจราชการ ธุรกิจการศึกษา ทำให้ประเทศชาติล้าหลังไปเรื่อยๆ

2. การศึกษายังไม่ทันสมัย คนไทยจะเก่งแต่ภาษาของตัวเอง ทำให้ขาดโอกาสในการแข่งขันกับต่างชาติในเวทีต่างๆ ไม่กล้าแสดงออก
ขี้อายไม่มั่นใจในตัวเอง เราจึงตา มหลังชาติอื่น จะเห็นว่าคนมีฐานะจะส่งลูกไปเรียนเมืองนอกเพื่อโอกาสที่ดีกว่า

3. มองอนาคตไม่เป็น คนไทยมากกว่า 70% ทำงานแบบไร้อนาคตทำแบบวันต่อวัน แก้ปัญหาเฉพาะหน้าไปวันๆ
น้อยคนนักที่จะทำงานแบบเป็นระบบ เป็นขั้นเป็นตอ มีเป้าหมายในอนาคตที่ชัดเจน

4. ไม่จริงจังในความรับผิดชอบต่อหน้าที่ ทำแบบผักชีโรยหน้าหรือทำด้วยความเกรงใจ ต่างกับคนญี่ปุ่นหรือยุโรปที่จะให้ความสำคัญกับสัญญา
หรือข้อตกลงอย่างเคร่ง ครัด เพราะหมายถึงความเชื่อถือในระยะยาว ปัจจุบันคนไทยถูกลดเครดิตความน่าเชื่อถือด้านนี้ลงเรื่อยๆ

5. การกระจายความเจริญยังไม่เต็มที่ ประชากรประมาณ 60-70% ที่อยู่ห่างไกลจะขาดโอกาสในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของตัวเอง
และชุมชนซึ่งเป็น หน้าที่ของภาครัฐที่ต้องส่งเสริม

6. การบังคับกฎหมายไม่เข้มแข็ง และดำเนินการไม่ต่อเนื่อง ทำงานแบบลูบหน้าปะจมูก ปราบปรามไม่จริงจัง การดำเนินการ ตามกฎหมายกับผู้มีอำนาจ
หรือบริวารจะทำแบบเอาตัวรอดไปก่อน ไม่มีมาตรฐาน ต่างกับประเทศที่เจริญแล้ว ข้อนี้กระบวนการยุติธรรมจะต้องปรับปรุง

7. อิจฉาตาร้อน สังคมไทยไม่ค่อยเป็นสุภาพบุรุษ เลี่ยงเป็นศรีธนญชัยยกย่องคนมีอำนาจ มีเงิน โดยไม่สนใจภูมิหลัง โดยเฉพาะคนที่ล้มบนฟูกแล้ว
ไปเกาะผู้มีอำนาจ เอาตัวรอด คนพวกนี้ร้ายยิ่งกว่า ผู้ก่อการร้ายดีแต่พูด มือไม่พายเอาเท้ารานํ้า ทำให้คนดีไม่กล้าเข้ามาเพราะกลัวเปลืองตัว

8. เอ็นจีโอค้านลูกเดียว เอ็น จีโอ บางกลุ่มอิงอยู่กับผลประโยชน์เอ็นจีโอดีๆ ก็มี แต่บ้านเรามีน้อย บ่อยครั้งที่ประเทศเราเสียโอกาสอย่างมหาศาล
เพราะการค้านหัวชนฝา เหตุผลจริงๆ ไม่ได้พูดกัน

9. ยังไม่พร้อมในเวทีโลก การสร้างความน่าเชื่อถือในเวทีการค้าระดับโลกของเรายังขาดทักษะและทีมเวิร์ค ที่ดี ทำให้สู้ประเทศเล็กๆ อย่างสิงคโปร์ไม่ได้

10. เลี้ยงลูกไม่เป็น ปัจจุบัน เด็กไทยขาดความอดทน ไม่มีภูมิคุ้มกันเป็นขี้โรคทางจิตใจ ไม่เข้มแข็ง เพราะเราเลี้ยงลูกแบบไข่ในหิน ไม่สอนให้ลูกช่วยตัวเองต่างกับชาติที่เจริญแล้ว เขาจะกระตือรือร้นช่วยตนเองขวนขวาย แสวงหา ค้นหาตัวเอง และเขาจะสอนให้สำนึกรับผิดชอบต่อสังคมข้อสุดท้าย!
อ่านแล้วอาจต้องแปะติดข้างฝาไว้เลย!!

วันศุกร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2553

"อย่าแค่สร้างสิ่งล่อใจ...สร้างแบรนด์...ธรรมชาติของ สินค้าหรือบริการที่ลูกค้าต้องการต่างหากน่าใส่ใจกัน

หลัง จากที่ลูกค้ารู้จักธุรกิจเราแล้ว ก็จะนำไปสู่การซื้อสินค้า การซื้อสินค้าจากสินค้าที่ยังไม่รู้จักดี ก็ย่อมต้องมีความเสี่ยงเป็นธรรมดา แต่บางทีความรู้สึกของผู้ซื้อก็ยังมีเวลาให้พิสูจน์ตัวเอง ในบางกรณี เช่น ร้านอาหารใหม่ความเสี่ยงจะต่ำ เพราะคนขายของใหม่ขึ้นอยู่กับเวลาในการลงทุน กำลังและเงิน และผู้ซื้อยังไม่รู้สึกตำหนิสูงเพราะยังใหม่อยู่ เหตุนี้แผนการตลาดจะต้องปรับให้เหมาะสมกับอัตราการรับรู้อัตราเสี่ยง จึงต้องสร้างสิ่งล่อใจมีดังนี้ เพื่อลดความเสี่ยง เช่น ที่ถือว่าเป็นยอดฮิตจากการสำรวจมาแล้ว แต่ก็ไม่แค่เท่านี้ สิ่งเด็ดดีเพิ่มเติมอยู่ท้ายบทความนี้แน่นอน

1. สินค้าตัวอย่าง
2. คูปอง
3. ลดราคา
4. การเสนอส่วนลดสำหรับลูกค้าใหม่
5. ฟรีสำหรับการใช้บริการครั้งแรก
6. รับประกันคืนเงิน ฯลฯ

แต่ละ สิ่งล่อใจข้างต้น ต้องมีความสัมพันธ์แบบพอดีกันในเรื่องของราคาและคุณภาพ รวมทั้งความรู้สึกเสี่ยง ดังนั้นการใช้คูปอง จุดประสงค์ต้องการให้เกิดการซื้อเพิ่มขึ้นจากการซื้อขณะนั้นหรือดึงมาเป็น ลูกค้าเรื่อยๆ การประกันการคืนเงินใช้ได้ดีในการบริการใหม่ เป้าหมายคือ การลดความกังวลเกี่ยวกับการจับจ่ายสินค้าเป็นสำคัญ แต่ต้องพิจารณาว่าสินค้าหรือบริการมีความจำเป็นขนาดไหน

ใน การซื้อสินค้าแต่ละครั้งจะนำไปสู่การประกอบการทางธุรกิจ ผู้ที่เป็นเจ้าของธุรกิจรายย่อยโดยเฉพาะธุรกิจใหม่ ใช้เวลาในการตัดสินใจ เงิน และความพยายามในการดึงดูดและการหาลูกค้าในการสร้างสิ่งล่อใจสินค้า แต่เป้าหมายสำคัญจะต้องเก็บข้อมูลลูกค้าให้ได้และพิจารณาธรรมชาติของสินค้า หรือบริการตัวเองด้วย

จึง ขอฝากหลักคิดต่อไปนี้จากการสร้างสิ่งล่อใจข้างต้น 6 ประการที่สำรวจแล้วถือว่าดีที่สุดในความรู้สึกของลูกค้าว่าลดอัตราเสี่ยงแก่ เขาได้แล้วยังต้องคำนึง

1.การทำให้ลูกค้าเป็นผู้สนับสนุนธุรกิจของ เรา

ฐาน ของลูกค้าที่เหนียวแน่น คือความแตกต่างระหว่างการประสบความสำเร็จกับความล้มเหลว ในธุรกิจ เป็นปกติที่จะมีผู้ที่ได้เงินและมีเวลาที่จะเก็บลูกค้าใหม่ ในขณะที่ของเก่าตกไปตามธรรมชาติ และกาลเวลา ฐานข้อมูลของลูกค้าที่ต้องไม่ตามกระแสแต่มีความเป็นตัวของตัวเองจะช่วยการ สนับสนุนการทำธุรกิจได้ดี ผู้สนับสนุนก็คือลูกค้าผู้ซึ่งภักดีต่อธรรมชาติสินค้าหรือบริการแล้วจึงมีผล ต่อธุรกิจ โดยเฉพาะประเภทปัจจัย 4 เคยคิดบ้างไหม หลายธุรกิจบริการขอใช้คำว่าสวนกระแสบริการดี แต่ยังอยู่ได้ และแนวคิดไปสู่การสื่อสารทางบวก ด้วยปากต่อปาก วิธีที่หลากหลายสามารถทำให้รักษาลูกค้า และเปลี่ยนพวกเขามาเป็นผู้สนับสนุนได้อย่างดี

2.การจัดการฐานข้อมูล

ปัจจัย ที่สำคัญยิ่งของธุรกิจใหม่หรือธุรกิจขนาดเล็กจนขนาดใหญ่ คือ การพัฒนาและการบำรุงรักษาฐานข้อมูลที่รู้จักลูกค้าดี ชัดเจนแน่นอน โชคร้ายที่ธุรกิจขนาดเล็กจำนวนมากและธุรกิจที่เพิ่งเริ่มได้มองข้ามสิ่งที่ สำคัญซึ่งเป็นองค์ประกอบของแผนสื่อสารการตลาด แม้เป็นสิ่งที่เร็วที่สุดในการสื่อสารแต่ส่วนมากมีผลกระทบต่อราคาและต้นทุน ตัวเอง วิธีในการรักษาลูกค้า และเปลี่ยนให้พวกเขามาเป็นผู้สนับสนุนเราดูจะเหมาะกว่าด้วยกระแสปากต่อปากใน สิ่งล่อใจในปัจจัยที่เข้ากับธรรมชาติของสินค้าหรือบริการไม่ใช่แค่บริการ

การ พัฒนาฐานข้อมูลไม่ใช่เรื่องยาก ไม่ต้องและไม่จำเป็นต้องมีความรู้ความชำนาญมากหรือใช้เทคโนโลยีให้เปลือง เงินทอง สำหรับการจัดการค้าปลีกรายย่อยเจ้าของจะค้นหาฐานข้อมูลได้หลายชั่วโมง ตั้งแต่เปิดร้านถึงปิดร้าน ขณะที่ร้านเปิดอยู่ลูกจ้างสามารถใช้เวลาตรงนี้ช่วยสร้างสรรฐานข้อมูล ได้ ทำได้โดยการสะสมนามบัตร การพิจารณาจากการจ่ายเงิน ซื้อสินค้าและบริการ หรือรายชื่อการซื้อจากเครดิตการ์ด ควรใส่ข้อมูลของทุกคนที่เข้ามาจ่ายเงินลงไปในฐานข้อมูล ว่าครั้งหนึ่งที่ลูกค้าเข้ามาซื้อสินค้าได้มีข้อมูลของลูกค้าเก็บอยู่ การพัฒนาข้อมูลของแต่ละลูกค้าเป็นสินทรัพย์ที่มีค่าในการตลาดได้ โดยการเชื่อมต่อระหว่างแคชเชียร์กับฝ่ายฐานข้อมูลทันที แล้วค่อยมาทำการคัดเลือกด้วยการใช้การตลาดทางตรงไม่ใช่เหวี่ยงแหสูญเปล่าใน ปัจจุบัน

3.การตลาดทางตรง

การ สร้างกำไรจากฐานข้อมูลที่ทำได้ข้างต้นจะมีผลตามมาคือ การทำการตลาดทางตรง ซึ่งเริ่มจากจดหมายอีเมล์ โทรศัพท์ หรือการติดต่อโดยบุคคล ธุรกิจขนาดเล็กจำนวนมากคิดว่ามีแต่ทางจดหมายเท่านั้น แต่ข้อมูลของลูกค้าควรจะถูกใช้อย่างระมัด ระวังจากการโทรศัพท์ แฟกซ์ หรืออีเมล์ อาจมีประสิทธิภาพในการติดต่อลูกค้ามากกว่าและยังเป็นความลับกว่าอีกด้วย

อย่างไร ก็ตามการสื่อสารที่ถูกต้องที่ยังใช้กัน คือ ส่งทางไปรษณีย์ direct mail เป็นวิธีที่ได้ผลและสามารถสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าได้ ขั้นตอนการทำการทดลองการตลาดทางตรงมีดังนี้

1.ก่อผลต่อกำหนดเป้าหมาย ให้แน่ใจว่าเป็นมากกว่าการขายทั่วไป

2.กำหนดผู้รับสารโดยใช้ฐานข้อมูลช่วย และนำข้อมูลที่ได้มาทำฐานข้อมูลใหม่ที่ทันสมัยเป็นปัจจุบัน

3.ได้ทั้งกลุ่มเป้าหมายและติดต่อลูกค้าที่กำหนด ไว้ตามแผนสื่อสารหรือธุรกิจของเรา

4.ผลิตภัณฑ์ ทำตัวอย่าง

5.ส่งจดหมายโดยให้มีการตอบกลับที่เราติดแสตมป์อำนวยความสะดวกมาเรียบร้อย

6.ก็แค่รอการตอบกลับ แล้วดูจำนวนตอบกลับก็พอจะเห็นลูกค้าที่ให้ความสนใจแล้ว

7. แต่ข้อสำคัญต้องเริ่มรู้จักการตลาดพอเพียง และเป็นไปได้คือส่งแล้วเกิดผลแน่แก่ลูกค้าที่ส่งไม่ใช่สักแต่ส่งๆ เหมือนที่ทำกัน งบประมาณสูญเปล่า

4.พนักงานขาย

การ สัมผัสโดยบุคคลยังคงเป็นส่วนหนึ่งที่ใช้ในการรักษาลูกค้า ไม่ว่าขนาดของธุรกิจจะเป็นอย่าง ไรก็ตาม ในกรณีที่ขนาดเล็กยังเป็นเรื่องจำเป็น การรู้จักชื่อลูกค้า ที่อยู่ หรือข้อมูลอื่นๆ การโทร.ไปหรือการไปหาตามร้านค้าปลีกจะได้ประสบการณ์เพิ่มขึ้น ซึ่งมีผลต่อการตลาดทางตรง แต่ต้องระวังการไม่ใส่ใจและไม่เตรียมพร้อมของพนักงงานและคนบริการ อาจจะทำให้ธุรกิจเกิดการสูญเสียได้โดยเฉพาะ Tele marketing ต้องให้สอดคล้องกับธรรมชาติและบริการด้วย

5.การแสดงสินค้าและการ ส่งเสริมการขายแก่ผู้บริโภค

ลูกค้า ของธุรกิจขนาดย่อมแม้แต่ขนาดใหญ่ต้องการที่จะรู้ว่าพวกเขามีคุณค่าเช่นเดียว กับธุรกิจอื่น นอกจากการทำลูกค้าสัมพันธ์และการที่จะเป็นผู้นำการตลาดได้จะต้องสร้างสรรค์ เรื่องนี้ให้ได้ต้องเข้าใจในการใช้สินค้าของผู้บริโภคและการส่งเสริมการขาย เพราะว่าจำนวนเงินในการตลาดยังมีจำนวน มากเพียง แต่เรายังหาไม่เจอเข้าไม่ถึงเท่านั้น การโฆษณาพิเศษจะช่วยในการส่งเสริมการค้าได้มาก ปฏิทิน ปากกา ถ้วย และอื่นๆ ช่วยให้ลูกค้าจำได้ น่าจะเป็นการส่งเสริมการขายระยะแรกๆ ก่อน เมื่อมีการเจริญเติบโตแล้วจึงจะก้าวไปสู่การส่งเสริมการค้าชนิดอื่นๆ เช่น ส่วนลด หรือสิ่งล่อใจอื่น 6 ประการดังข้างต้นของบทความ และยังควรมีการส่งเสริมการบริโภคด้วยมีการแจกคูปอง

สำหรับ การแจกคูปองก็จริงใจกันหน่อย เห็นได้กันอย่างมาก 10%, 20% แทบทุกสินค้าและบริการ แล้วเคยถามตัวเองไหม ไม่ค่อยจริงใจอย่างนี้ ทำไมลูกค้ายังสนใจกันอยู่ทั้งที่รู้ว่า 50%, 70% น่ะมีน้อย ก็เพราะเขาต้องการสินค้าและบริการซึ่งธรรมชาติมนุษย์เขาก็ต้องใช้อยู่แล้ว แม้ไม่มีก็ตาม มีการทำของแจก จัดประกวดหรือ ชิงโชคของตัวอย่าง การรับคืนและส่วนลด ควรมีการ พัฒนาเท่าที่จะเป็นไปได้ คือให้สอดคล้องธรรมชาติสินค้าหรือบริการ อย่างผลการประกวดและชิงโชคช่วยให้ได้สร้างฐานข้อมูลที่ชัดเจนอีก การประกวดต้องขอชื่อและที่อยู่ในการสมัครประกอบด้วย หรือแม้แต่การใช้การประกวดอย่างสาวงามของสินค้าหรือการประกวดที่เข้ากับ แนวคิดสินค้า ฯลฯ

จึง มีหลายสิ่งที่ต้องจำ เมื่อพัฒนาการค้าและส่งเสริมการบริโภค อย่างแรกต้องดูผลกระทบต่อต้นทุนเรา การเพิ่มราคา อย่างที่สองเป้าหมายควรเริ่มอย่างมีระบบจากการสร้างการจดจำ ภาพลักษณ์ การขาย อย่างที่สาม การส่งเสริมการขายนั้นควรสะท้อนตำแหน่ง ภาพลักษณ์ และแนวทางของธรรมชาติของสินค้า อย่าแค่สร้างสิ่งล่อใจ เพื่อลดอัตราเสี่ยงจ่ายเงินลูกค้าเท่านั้น หรือจะมุ่ง “customer is the King” หรือจะสร้างแบรนด์ตะพึด ธรรมชาติสินค้าหรือบริการต่างหากเป็นสิ่งสำคัญ

ขอ ฝากข้อความปิดท้ายถามบรรดาลูกค้ายันนักการตลาด นักผู้ประกอบการทั้งหลาย จะธุรกิจไหนก็แล้วแต่ บางทีสินค้าไม่ค่อยจะดีนักแต่ก็ไม่เลวร้าย คืออาจดีสู้ระดับยักษ์ๆ ไม่ได้ หรือโดยเฉพาะ “บริการไม่ดีเท่าไรนัก” ทำไมธุรกิจเหล่านั้นยังอยู่กันได้ ขออนุญาตไม่เอ่ยชื่อสินค้าและบริการนั้น คิดกันเอาเอง คำตอบที่อยู่ได้เพราะ “ธรรมชาติสินค้าและบริการของเขายังไง จะดีเลวก็ยังต้องใช้ไงเล่า” ลองคิดเอาดู กรุณาอย่ายึดติดคัมภีร์ตะวันตกกันนักเลยและติดตัวตนตัวเอง ตายไปจะจำได้ไหมว่าข้าเคยหญ่าย...คิดให้ติดดินซะบ้าง



ที่ มา : http://www.siamturakij.com

วิธีการรักษาลูกค้าปัจจุบันให้อยู่กับเราตลอดไป

ปัจจุบันเรามีเทคนิค ใหม่ ๆ ที่สามารถรักษาลูกค้าที่ถือว่าเป็นสินทรัพย์ที่มีค่ายิ่งนักยามที่เศรษฐกิจ ตกต่ำ นั่นก็คือ การจัดตั้งฝ่ายลูกค้าสัมพันธ์ขึ้นมาดูแล ซึ่งก็เป็นวิธีหนึ่งที่สามารถผูกลูกค้าไว้กับบริษัทได้ จึงได้เกิดแนวทางใหม่ ๆ ที่เรียกว่า หลักการ CRM (Customer Relationship Management) มีแนวทางอยู่ทั้งสิ้น 12 ประการ ดังนี้

1. สร้างคุณค่าเพิ่ม ไม่เพียงแต่ทำให้ลูกค้าพอใจเท่านั้น ยังต้องสร้างความรู้สึก "เกินกว่าความพอใจ"

2. ให้บริการก่อน และหลังการขายอย่างเป็นกันเอง (Personalized)

3. ใช้ระบบ Call Center และต้องวางกองหลัง back office ให้แข็งแกร่ง

4. ใช้โปรแกรมการส่งเสริมการขายที่หวังผลระยะยาว เช่น ให้แคมเปญสะสมคะแนนจากยอดซื้อ ซึ่งระยะเวลาไม่ควรเกินกว่า 30-90 วัน เป็นต้น

5. ตั้งฝ่ายลูกค้าสัมพันธ์ขึ้นมาดูแลโดยเฉพาะ

6. ให้ความเสมอภาคกับลูกค้าแต่ละราย

7. สำรวจคู่แข่ง และสำรวจสถานการณ์ทางการตลาดอยู่เสมอ

8. ยึดหลัก Mass Cutomization คือ ออกแบบเคมเปญสำหรับลูกค้ากลุ่มใหญ่ โดยมีจุดเด่นตรงที่สิ่งที่ลูกค้าแต่ละรายจะได้รับแคมเปญนั้นไม่เหมือนกัน

9. สร้าง Internal Marketing ที่แข็งแกร่ง มี back office ที่ดี

10.ฝ่ายบริหารต้องเห็นความสำคัญ ให้การสนับสนุนอย่างจริงจัง

11.สร้างอุปสรรคในการเปลี่ยนไปเป็นลูกค้าของบริษัทอื่น (Switch cost) โดยบริษัทสามารถสร้างอุปสรรคในการเปลี่ยนไปร่วมรายการส่งเสริมการขายของ สินค้าอื่น เช่น แคมเปญสะสมแต้มคะแนนที่มีรางวัลมูลค่าสูง ๆ และเมื่อสะสมคะแนนถึงระดับนึ่ง แต้มคะแนนจะเพิ่มขึ้นในอัตราก้าวหน้า เพื่อให้ลูกค้ารู้สึกว่าตนก็สามารถสะสมคะแนนเพื่อแลกรับของรางวัลชิ้นใหญ่ ได้โดยไม่ยากนัก

12. ในกรณีลูกค้าที่มีคนกลางในช่องทางการตลาด ให้เน้นการเข้าไปมีส่วนร่วมในการช่วยบริรกลุ่มผลิตภัณฑ์ ที่ลูกค้าวางจำหน่ายในร้าน ช่วยการจัดวางสินค้าในร้าน จัดกิจกรรมพิเศษในร้าน หรือที่เรียกว่า เป็นรูปแบบความสัมพันธ์แบบ Proactive Marketing

ทั้งหมดมีอยู่ด้วยกัน 12 ข้อ เป็นหลักการง่าย ๆ ที่จะสามารถดึงลูกค้าให้อยู่กับคุณนาน ๆ



ที่มา : นิตยสาร Brandage

10 วิธีกู้วิกฤตธุรกิจ

Focus ทำเฉพาะสิ่งที่บริษัททำได้ดีที่สุด
การทำธุรกิจหลายประเภทที่ไม่เอื้อประโยชน์ต่อกัน ก่อให้เกิดค่าใช้จ่ายที่สูง ในสภาวะปัจจุบันหลายธุรกิจมียอดขายลดลง กำไรน้อยหรือขาดทุนอยู่ นักธุรกิจจึงจำเป็นต้องลดขนาดของธุรกิจและเลือกทำเฉพาะธุรกิจที่บริษัททำได้ ดีที่สุด โดยพิจารณาถึงความถนัดความสามารถในการแข่งขัน และแนวโน้มของธุรกิจในอนาคตเป็นหลัก

รักษาลูกค้าให้ดีที่สุด
การมุ่งหาลูกค้าใหม่เป็นสิ่งที่ทำได้ยากและเสียค่าใช้จ่ายสูงในสภาวะ ปัจจุบัน การรักษาลูกค้าเดิมโดยการกระตุ้นให้ลูกค้าเดิมใช้สินค้าของเรามากขึ้นเดิม เป็นฐานสามารถทำได้ง่ายกว่า ดังนั้นนักธุรกิจจึงควรให้ความสนใจ และทำทุกวิธีที่จะรักษาลูกค้าเดิมให้มากที่สุด

มองวิกฤติให้เป็นโอกาส
ในช่วงวิกฤติทางเศรษฐกิจของประเทศไทย แสดงให้เห็นถึงทฤษฎีวงจรธุรกิจว่ามีขึ้นมีลง การทำธุรกิจต้องระมัดระวังสอนให้เข้าใจถึงคุณค่าของความประหยัดและที่สำคัญ สอนให้เรารู้จักมองวิกฤติให้เป็นโอกาส การมองวิกฤติให้เป็นโอกาส คือการมองหาข้อดีในปัญหาที่เกิดขึ้น และใช้ข้อดีนั้นมาช่วยสร้างโอกาสของธุรกิจอีกครั้ง เช่น ค่าเงินลดลงธุรกิจส่งออกย่อมดีกว่าธุรกิจนำเข้า หรือธุรกิจไม่ดีคู่แข่งจะอ่อนแอโอกาสขยายกิจการส่วนแบ่งทางการตลาดจะทำได้ ง่ายขึ้น

ลดขนาดของการลงทุนให้เหมาะสม
ปัญหาเศรษกิจมีผลทำให้กำลังซื้อของผู้บริโภคลดลงขนาดของตลาดจึงลดลงการทำ ธุรกิจต้องคำนึงถึงขนาดของตลาดที่ลดลงด้วย การลงทุนและการประกอบธุรกิจต้องลดลงให้เหมาะสมกับสภาพตลาด แต่ที่สำคัญนักธุรกิจจะต้องคำนึงความสามารถของการแข่งขันและต้องพยายามรักษา ส่วนแบ่งทางการตลาดเป็นหลัก

เก็บสต็อกสินค้าให้น้อยลง
การบริหารการผลิตและการจัดเก็บสินค้ามีผลกระทบต่อสภาพคล่องของธุรกิจและค่า ใช้จ่ายของธุรกิจ การเก็บสต็อกสินค้าที่เหมาะสมให้เพียงพอกับยอดขายเป็นสิ่งที่ควรพิจารณา สำหรับสินค้าที่ขายดี ส่วนสินค้าที่มีการระบายช้าควรเปลี่ยนสต็อกให้เป็นเงินสด และเก็บสต็อกให้น้อยผลิตเมื่อมีคำสั่งซื้อจะดีกว่า

ลดต้นทุนลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นให้มากที่สุด
การประหยัดและการลดค่าใช้จ่ายมีความสำคัญต่อการอยู่รอดของธุรกิจในยุคที่ยอด ขายธุรกิจลดลง แต่ต้นทุนของธุรกิจ(ดอกเบี้ย) สูงขึ้น การประหยัดและลดค่าใช้จ่ายจึงเป็นสิ่งที่ผู้บริหารและพนักงานควรร่วมมือ ร่วมใจดำเนินการแต่ต้องไม่กระทบต่อคุณภาพของสินค้า หรือบริการและความสามารถในการแข่งขันทางการตลาด

เลือกผลิตสินค้าที่แตกต่างจากคู่แข่ง
ในสภาวะปัจจุบันแม้ขนาดขนาดของตลาดจะเล็กลง แต่การแข่งขันทางการตลาดก็มิได้ลดลง เพราะทุกธุรกิจต้องพยายามแย่งกำลังซื้อที่เหลืออยู่ของตลาด การเลือกผลิตหรือขายสินค้าที่แตกต่างจากคู่แข่งขัน จะช่วยให้ธุรกิจมีคู่แข่งน้อยลง สินค้ามีจุดเด่น และช่วยลดค่าใช้จ่ายของการตลาดได้

ระบบการเงิน เน้นเงินสดมากกว่ากำไร
ธุรกิจปัจจุบันขาดสภาพคล่องทางการเงิน ดังนั้น การเน้นขายเงินสด แม้กำไรน้อย อาจมีความสำคัญมากกว่าการขายสินค้ากำไรสูงแต่เก็บเงินได้ช้า

มุ่งพัฒนาบุคลากรเตรียมพร้อมเพื่ออนาคต
แม้ธุรกิจจะอยู่ในช่วงขาลง แต่ก็มิได้หมายความว่าธุรกิจจะไม่มีขาขึ้น ในสภาวะเช่นนี้จึงเป็นเวลาที่นักธุรกิจมีโอกาสคัดเลือกพนักงานที่ดี และมีการพัฒนาบุคลากรที่ดีจะสร้างความได้เปรียบเหนือคู่แข่งขันได้

ในสภาวะปัจจุบันทุกธุรกิจมีเป้าหมาย
เพื่อความอยู่รอดของธุรกิจ เป็นหลักซึ่งเป็นเป้าหมายระยะสั้น แต่นักธุรกิจต้องศึกษาแนวโน้มของตลาดในอนาคต และสร้างเป้าหมายระยะยาวของธุรกิจให้เหมาะสม ก่อนแล้วจึงกำหนดเป้าหมายระยะสั้น สอดคล้องกับเป้าหมายระยะยาว



ที่มา : http://course.yonok.ac.th/

การรักษาลูกค้าอย่างเดียวไม่เพียงพอ

การที่ลูกค้าจากเราไปยังมีปัญหาน้อยกว่า การที่ลูกค้าเปลี่ยนพฤติกรรมไปซื้อสินค้าของคู่แข่ง วิธีการใหม่ในการทำความเข้าใจลูกค้าและศึกษาถึงพฤติกรรมของลูกค้าแบบใหม่นี้ จะสามารถทำให้เราเข้าใจถึงพลังของอำนาจในการทำให้ลูกค้ามีความจงรักภักดีกับ ตราสินค้าเราได้

บริษัทมากมายต่างทุ่มเงินมหาศาลในการทำความเข้าใจ และชักนำลูกค้าในแต่ละปีเพื่อที่จะรักษาให้ลูกค้าอยู่กับเรา หรือให้เขาใช้จ่ายมากขึ้น แต่การรักษาหรือเพิ่มความจงรักภักดีของลูกค้านั้น องค์กรควรต้องหันมาให้ความสำคัญในการเจาะลึกถึงข้อมูลของลูกค้าแต่ละคนมาก ยิ่งขึ้นกว่าวิธีการเก่าๆที่เคยทำกันมาในอดีต ไม่ว่าจะเป็นการค้นหาความพึงพอใจ หรือการหาสิ่งบกพร่องของตัวองค์กรและผลิตภัณฑ์ ทั้งๆที่แต่ละองค์กรได้ลงทุนมหาศาลกับ software และวิธีการในการส่งเสริมให้เกิดความจงรักภักดี (Loyalty) ของลูกค้าระดับบนก็ตาม สิ่งเหล่านี้ยากที่จะอธิบายขึ้นในทุกอุตสาหกรรม

แนวความคิดที่จะทำการทำนายหรือคาดคะเนความต้องการของผู้บริโภค และศึกษาถึงความเปลี่ยนแปลงด้านความต้องการของลูกค้าให้เร็วขึ้น และจัดหากิจกรรมทางการตลาดในการเข้าหาลูกค้ากลุ่มนี้ และนำเสนอความต้องการใหม่ให้เขาก่อนที่เขาจะนึกถึงนั้น คือสิ่งที่ทุกองค์กรในปัจจุบันควรทำกัน ไม่เช่นนั้นองค์กรนั้นๆก็จะประสบกับปัญหาการเอาใจออกห่างของลูกค้า (Defecting Customers)

จากการศึกษาวิจัยถึงทัศนคติและ Lifestyle ของกลุ่มลูกค้ากว่า 1,200 ตัวอย่างในกว่า 16 อุตสาหกรรมที่กระจายอย่างกว้างขวางตั้งแต่ธุรกิจสายการบิน ธนาคาร สินค้าอุปโภคบริโภค ตลอดจนถึงสินค้าอุตสาหกรรม บ่งบอกว่า การปรับปรุงการบริหารจัดการในเรื่องการเอาใจออกห่าง หรือการหันไปซื้อสินค้าคนอื่นนั้น ไม่เพียงแต่เน้นความสำคัญในเรื่องการที่ลูกค้าตีจาก แต่รวมไปถึงการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมการจับจ่ายใช้สอยของลูกค้าที่ เปลี่ยนแปลงไป สามารถช่วยลดปริมาณการตีจากหรือการนอกใจของลูกค้าได้มากถึงกว่า 10 เท่าตัว

การวิเคราะห์ถึงความแตกต่างของพฤติกรรมการใช้จ่ายของลูกค้า และระดับความจงรักภักดีของลูกค้าแต่ละคนนั้น เป็นศาสตร์แห่งความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านที่ปรากฏขึ้นในขณะนี้ ฉะนั้นผมจึงมองว่าทฤษฎีหรือเทคนิคการบริหารจัดการลูกค้าสัมพันธ์นั้น ใครๆก็พูดได้ ใครๆก็เรียนรู้ได้ แต่มีสักกี่คนที่สามารถเข้าใจและนำไปปฏิบัติได้ผลบ้าง การเข้าใจและเรียนรู้ลูกค้าในปัจจุบันนี้ไม่ใช่เรื่องง่าย นักการตลาดจำเป็นที่จะต้องมีความรู้ไม่เฉพาะในเรื่องการตลาดเท่านั้น แต่จะต้องมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องของพฤติกรรมของผู้บริโภคด้วย ต้องเรียนรู้วัฒนธรรมการเปลี่ยนแปลง ซึ่งในแต่ละเชื้อชาติ ศาสนา จะไม่เหมือนกัน ฉะนั้น ฝรั่งจะมาเข้าใจดีกว่าคนไทยด้วยกันเองได้อย่างไร ในสมัยนี้ เทคโนโลยีสามารถเรียนรู้ทันกันหมด แต่ศิลปะของการ applied เป็นศิลปะเฉพาะของแต่ละบุคคล ด้วยเหตุนี้ ในโรงเรียนสอนบริหารธุรกิจนั้น ควรจะต้องบรรจุวิชาว่าด้วยการเรียนรู้พฤติกรรมของมนุษย์เข้าไปด้วย และนักศึกษาบริหารธุรกิจจะต้องเข้าห้องเรียน จิตวิทยา ด้วย เพราะการเรียนรู้เรื่องของคนเป็นการเรียนรู้ที่ซับซ้อนที่สุด

การเรียนรู้และการเข้าใจลูกค้า

การชักจูงหรือโน้มน้าวในลูกค้าใช้จ่ายเงินนั้น แต่ละองค์กรจะต้องเจาะลึกลงไปมากกว่าการค้นหาเฉพาะข้อมูลเกี่ยวกับสินค้า หรือบริการที่ลูกค้าชอบหรือไม่ชอบเท่านั้น การเรียนรู้หรือการประเมินวัดความพึงพอใจของลูกค้าในระดับกว้าง คือไม่ใช่ถามเพียง Demographic และความพึงพอใจในผลิตภัณฑ์เท่านั้น จะสามารถบ่งบอกบริษัทได้ว่า ลูกค้ากลุ่มไหนเริ่มมีความคิดที่จะตีจากหรือเอาใจออกห่างไปหาสินค้าคู่แข่ง อย่างกรณีของ โทรศัพท์มือถือ ลูกค้ามักจะมีการสับเปลี่ยนผู้ให้บริการตลอดเวลา ทันทีที่เขารู้สึกว่าผู้ให้บริการไม่ซื่อสัตย์ต่อเขา หรือ Call Center ให้บริการเขาไม่ดีพอ แต่ความพึงพอใจอย่างเดียวไม่ได้บ่งบอกถึงความสำเร็จหรือทำให้ลูกค้ามีความ จงรักภักดีได้ ความไม่หลากหลายของตัวสินค้า หรือการหาอะไหล่หรือบริการยาก ก็อาจทำให้ลูกค้าเปลี่ยนไปใช้อย่างอื่นได้เช่นกัน ดูตัวอย่างของมือถือ ทำไม Nokia หรือ Motorola และ Siemens ระยะหลังจึงได้รับความนิยมมากขึ้น ทั้งๆที่ในอดีด Ericson ก็มาเป็นอันดับสองหรือหนึ่งด้วยซ้ำในบางประเทศ ทั้งนี้เป็นเพราะ Nokia มีคนใช้มาก ตลาดมือสองราคาไม่ตกมาก และตลาดมืดก็มีคนเอาเข้ามาขายกันมาก เช่นที่ มาบุญครองเป็นต้น ในส่วนของ Motorola นั้น ความสะดวกที่คนนิยมก็คือการแก้ไข EMEI ได้ง่าย ทำให้เครื่องเถื่อนมีคนนิยม แต่หลังๆ รุ่น V60, V66 หาอะไหล่เปลี่ยนยากขึ้น ผู้คนจึงหันไปใช้ Nokia และ Siemens แทน เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงของผู้บริโภคหรือลูกค้าที่มีต่อตราสินค้านั้นๆ ส่วนใหญ่มาจาก สภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง ลักษณะวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไป หรือจากการนำเสนอในเงื่อนไขที่ดีกว่า ทั้งของบริษัทเราเองและหรือของคู่แข่ง ล้วนแล้วเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและเอาใจตีจากทั้งนั้น การศึกษาและเข้าใจถึงตัวขับเคลื่อนของคู่แข่งต่อการดึงดูดลูกค้าเข้าไป ก็เป็นสิ่งสำคัญที่ทุกองค์กรควรต้องนำไปพิจารณาด้วย

จากการเรียนรู้และทำความเข้าใจกับสาเหตุที่ลูกค้าหนีจากเราไปหาคู่แข่งในรูป แบบแตกต่างกัน บวกกับความรู้ที่เรามีและข้อมูลของพฤติกรรมการใช้จ่ายของลูกค้าเรา จะทำให้เราสามารถพัฒนาระดับของ Loyalty Profiles ที่จะนำไปผูกมัดใจลูกค้าในแต่ละระดับได้ มาดูตัวอย่างของการสร้าง Loyalty Program ของแต่ละค่ายบัตรเครดิต ทุกค่ายในขณะนี้ออกมาเหมือนกันเกือบหมด คือการสะสมคะแนน ไม่มีใครมีอะไรที่แปลกใหม่ ต่างก็แข่งกันในลักษณะของสินค้าใน Catalogue ที่นำมาล่อใจลูกค้า และที่สำคัญต่างก็แข่งกัน Offer การสะสมแต้มเพื่อแลก Mileage ของการบินไทยด้วย เพราะผู้ถือบัตรส่วนใหญ่ ต่างก็เป็นนักเดินทางทั้งนั้น ต่างก็อยากได้ประโยชน์จากการใช้จ่ายเพื่อสะสมสำหรับการเดินทางฟรี ฉะนั้นแต่ละค่ายเท่าที่ผมสำรวจดู ไม่มีอะไรแปลกใหม่เลย จนกระทั่งเมื่อเร็วๆนี้ ธนาคารกสิกรไทย ได้ออกรายการ TFB Loyalty Program เพื่อเพิ่ม Value ให้กับบัตรมากขึ้น โดยการให้เป็นคะแนนที่แลกเป็นบัตรสำหรับ Shopping ได้เลยแทนเงินสด ผมว่าอย่างนี้แหละที่เรียกว่า การนำเอาความคิดใหม่ๆมาประยุทธกับการศึกษาพฤติกรรมของผู้ถือบัตร และออกอะไรที่ผู้ถือบัตรเขาต้องการ บ่อยครั้งที่ผมเห็นการทำส่งเสริมการขาย นักการตลาดพยายามทำในสิ่งที่เขาคิดว่าผู้บริโภคต้องการ แต่ความจริงก็คือเขาเองแหละต้องการ ผลก็คือ Campaign นั้นๆ ก็ล้มเหลว

สาเหตุของการตีจากหรือย้ายความภักดีไปจากเรานั้น บางครั้งไม่ใช่เพราะเราไม่ดี หรือบริการบกพร่อง แต่เราต้องศึกษาให้เข้าใจว่าที่เขาไม่จงรักภักดีกับเรานั้น เป็นเพราะ Lifestyle เขาเปลี่ยนก็ได้ หรือเป็นเพราะเขาไม่ใช้สินค้าเราแล้ว ไม่ใช่เป็นเพราะเขาไม่ชอบสินค้าเรา อย่างเช่น กรณีของผ้าอนามัย เขาอาจเป็นลูกค้าที่จงรักภักดีกับตรายี่ห้อของเรามาตลอด แต่ที่เขาเลิกใช้ไม่ใช่เป็นเพราะเขาไม่ชอบ แต่เป็นเพราะเขาพ้นวัยที่จะมีประจำเดือน หรือหมดประจำเดือนนั่นเอง ด้วยเหตุนี้ แต่ละองค์กร การทำ CRM ก็จะต้องคำนึงถึงการศึกษาพฤติกรรมของลูกค้าและ Lifestyle ของเขาให้ลึก (Insight) ด้วย

เจตคติพื้นฐานของลูกค้า 3 ประการ

ในการศึกษาทัศนคติหรือเจตคติของลูกค้านั้น มีปัจจัยพื้นฐาน 3 ประการที่นักการตลาดควรต้องเรียนรู้

1. อารมณ์ (Emotive)

ลูกค้าที่เป็น Emotive Customers เป็นลูกค้ากลุ่มที่มีความจงรักภักดีที่สุด ลูกค้ากลุ่มนี้จะคิดตลอดเวลาว่า การตัดสินใจซื้อสินค้ายี่ห้อที่เขาเลือกนั้น เป็นการตัดสินใจที่ถูกต้องที่สุด ฉลาดที่สุด ลูกค้ากลุ่มนี้ จะไม่มีวันลังเล หรือคิดทบทวนใหม่ต่อการตัดสินใจซื้อของเขาในแต่ละครั้ง และทุกครั้งที่เขาเดินเข้าไปในห้างสรรพสินค้าหรือ Supermarket เขาจะเดินตรงไปยังชั้นที่เขาเคยหยิบ และไม่สนใจที่จะมองหาสินค้าใหม่ๆที่ออกมาทดแทนกันเลย ถึงแม้จะมีการสนับสนุนหรือส่งเสริมการขายอย่างไรก็ตามจากสินค้าคู่แข่ง ก็ไม่อาจทำให้เขาใจอ่อน ลูกค้ากลุ่มนี้ เป็นกลุ่มที่นักการตลาดต้องทุ่มเงินมากมายมหาศาลในการ Convert พวกเขาให้หันมาใช้สินค้าใหม่แทน และก็เป็นกลุ่มลูกค้าที่ทุกองค์กรปรารถนาอย่างยิ่งที่อยากให้ลูกค้าของตน เป็นแบบนี้

2. ลูกค้าที่ดูเฉื่อย หรือพวก Inert (Inertial Customers)

ลูกค้ากลุ่มนี้ เป็นเหมือนกลุ่ม Emotive กล่าวคือไม่ค่อยสนใจในการเปลี่ยนแปลงของสินค้าในตลาด เคยใช้อะไร ก็ใช้อย่างนั้นไปตลาด ไม่สนใจสิ่งรอบข้าง และเหตุผลของการไม่เปลี่ยนแปลงนั้นส่วนใหญ่มากจากการเปลี่ยนแปลงนั้นทำให้ เกิดค่าใช้จ่ายสูง ทำให้เขาไม่อย่างเปลียน เพราะไม่แน่ใจว่าเปลี่ยนไปแล้วจะดีขึ้นหรือไม่ สินค้าจำพวก Utilities เช่น พวกน้ำ ไฟ โทรศัพท์ หรือพวกประกันภัยต่างๆ เป็นตัวอย่างที่ดีของกลุ่มลูกค้าประเภทนี้ การที่คุณไม่พอใจบริการขององค์การโทรศัพท์นั้น ก็ไม่ได้หมายความว่าเมื่อคุณเปลี่ยนไปใช้ของ TA แล้วจะดีขึ้น หลายต่อหลายคนเริ่มรู้สึกเหมือนหนีเสือไปปะจรเข้ กล่าวคือ นึกว่า TA เป็นเอาชนต้องบริการดี แต่พอเอาเข้าไป กลับเจอการ Charge ยุบยิบเต็มไปหมด หรือ การที่คุณผิดหวังกับการบริการของประกันภัยแห่งหนึ่งก็ไม่ได้หมายความว่าคุณ จะได้รับการบริการที่ดีในอีกแห่งหนึ่ง การประกันชีวิต เป็นตัวอย่างที่ดีที่สุด ที่เวลาตัวแทนจะมาเอาเงินคุณ เขาจะพูดจาหว่านล้อมทุกอย่างให้คุณเชื่อว่าเขาดี แต่พอคุณประกันกับเขาผ่านไปสัก 5-6 ปี เขาก็เริ่มไม่มาหาคุณ ไม่เคยโทรมาถามถ่ายทุกข์สุข หรือโทรมาเตือนเรื่องการจ่ายเบี้ยประจำปี จนบางครั้งทำให้คุณต้องขาดจากการประกันไปเลย เงินที่เคยจ่ายมาเป็น 10 ปีก็สูญไป เพื่อคุณทำผิดเงื่อนไขคือจ่ายไม่ตรงตามกำหนดเวลา ทำให้เวลาตายไป เขามีสิทธิอ้างที่จะปฏิเสธการจ่ายคุณ พวกบริษัทประกันชีวิตส่วนใหญ่ก็จะถูกตัวแทนที่รอบจัดทำเอาชื่อเสียงของ บริษัทเสียหายเลยก็มี บางแห่ง ตัวแทนไปรับปากอย่างโน้นอย่างนี้ พอตายเข้าลูกหลานไปขอเงินประกัน บริษัทไม่จ่าย ก็หาว่าบริษัทโกง ฉะนั้นคนกลุ่มนี้ ก็คือลูกค้ากลุ่มที่เราเรียกว่า เป็น พวก Inertial Customers

3. พวกตั้งใจเปลี่ยนแปลง (Deliberators)

ลูกค้ากลุ่มนี้ เป็นกลุ่มที่ค่อนข้างใหญ่ที่สุดในทุกองค์กร คือประมาณ 40 % ของลูกค้าทั้งหมด การชักนำให้เขาเปลี่ยนใจมาใช้สินค้าหรือบริการของเรานั้น อาจต้องใช้เงินมากพอๆหรือมากกว่า 2 เท่าของที่ใช้กับ 2 กลุ่มข้างต้น พวก Deliberators คือพวกที่มักจะ reassure การซื้อของเขาในแต่ละครั้งเพื่อที่จะหาจุดคุ้มค่าที่สุด พวกนี้จะเปรียบเทียบราคากับคุณภาพ และประสิทธิภาพของสินค้าที่เขาซื้อทุกครั้งตลอดจนความสะดวกและความง่ายในการ ติดต่อหรือขอบริการจากบริษัทเจ้าของสินค้านั้นๆ พวกปั้มน้ำมัน และร้านค้าย่อยหรือร้านสะดวกซื้อจะเป็นตัวอย่างที่ดีของลูกค้ากลุ่มพวกนี้ กล่าวคือ ลูกค้ากลุ่มนี้จะเปรียบเทียบเวลาเขาเติมน้ำมันทุกว่าปั้มนั้นบริการดีไหม ราคาถูกกว่าที่อื่นหรือเปล่า หากแพงกว่า พวกนี้จะไม่รีรอในการ Switch ไปหาปั้มอื่นทันที อย่างเช่นในอดีด เราเคยได้ยิน ปั้ม JET ที่เริ่มทำสงครามราคา โดยการให้ราคาเบนซิน 95 ที่ถูกกว่าที่อื่น ผู้คนก็จะแห่กันไปเติมที่นั่น และหลังจากนั้น พอราคาเขาไม่ใช่ถูกสุด ผู้คนก็หนีจาก ลูกค้ากลุ่ม Deliberators จะเป็นกลุ่มแรกที่หนีจากไปก่อน หันไปเติมปั้มบางจากบ้าง ปั้ม MP บ้าง ซึ่งขณะนี้ ก็ดูเหมือนปั้ม MP จะได้เปรียบที่ราคามักถูกกว่าปั้มอื่นๆถึง 60-70 ส.ต. และพวกเรานักการตลาดต่างก็รู้ว่า น้ำมันไม่ว่ายี่ห้อไหน ก็มาจากโรงกลั่นแหล่งเดียวกัน อยู่ที่ Image ที่ให้มากกว่า ผมเองคนหนึ่งที่เติมน้ำมันปั้มที่ถูกกว่า เพราะราคาน้ำมันแพงขึ้นทุกวัน เงินเดือนก็เท่าเดิม ฉะนั้น ทุกคนก็อย่างได้ของประหยัด หรือลูกค้าส่วนใหญ่ก็จะซื้อของกินร้านที่ไกล้บ้าน แต่ลูกค้ากลุ่มนี้ จะยอมขับรถไปไกลกว่าหน่อยเพื่อซื้อหาของกินที่อร่อยกว่า และทุกครั้งที่กิน ก็จะ Re-evaluate ร้านเขาตลอดเวลา หากมีการบริการหรือราคาที่แพงขึ้น ก็จะตีจากได้เช่นกัน

กล่าวโดยสรุป บริษัทส่วนใหญ่มักจะมีความพยายามที่สำเร็จน้อยในการที่จะพบกับความสำเร็จใน การเปลี่ยนแปลงความต้องการของลูกค้า บรรดาธนาคารหรือสถาบันการเงินต่างๆ จึงต้องพยายามออกสินค้าใหม่ๆมาให้ลูกค้าตลอดเวลา เพื่อให้เข้ากับความต้องการที่หลากหลายมากยิ่งขึ้นในทุกขณะ อย่างเช่นโครงการเงินกู้เพื่อการท่องเที่ยว หรือพักผ่อน หรือสินค้าเกี่ยวกับการประกันชีวิต พร้อมการเก็บออมเป็นต้น



ที่มา : http://www.brandage.com/

ขั้นตอน 8 ขั้นสำหรับการเริ่มต้นทำธุรกิจที่บ้าน

ต่อ ไปนี้ คือ ขั้นตอน 8 ขั้นที่ได้รับการพิสูจน์รับรองแล้วว่าจะเป็นประโยชน์มากสำหรับการเริ่มต้นทำ ธุรกิจของคุณและดำเนินธุรกิจจนถึงบรรลุความสำเร็จ

ขั้นตอนที่ 1 ทำความรู้จักกับธุรกิจของคุณ ไม่ว่าคุณจะเลือกทำธุรกิจประเภทใดก็ตาม คุณจะต้องทำความรู้จักกับธุรกิจของคุณให้มากกว่าที่คุณจะรู้จักผู้คนที่คุณ ให้บริการ ถ้าธุรกิจนั้นเป็นสิ่งใหม่สำหรับคุณ คุณจะต้องเรียนรู้กับมันให้มากที่สุด เช่น ถ้าเป็นธุรกิจขายรถ คุณต้องรู้เกี่ยวกับสีของรถ การขัดเงา การเคลือบสี และ อะไหล่ต่าง ๆ และ คุณจะต้องพัฒนาทักษะการขายรถให้มีประสิทธิภาพ คุณจะรู้จักธุรกิจของคุณได้อย่างไร คุณต้องลงมือทำและเรียนรู้จักคู่แข่ง เข้าไปใช้บริการของคู่แข่งและอ่านโฆษณา แล้ววิธีการทำงานของคู่แข่งมาปรับปรุง ค้นหาข้อมูลจากห้องสมุดเกี่ยวกับสมาพันธ์การค้าและจากนิตยสารต่าง ๆ อ่านและเรียนรู้จากมัน ยิ่งคุณรู้มากเท่าไหร่ บริษัทของคุณก็สามารถสร้างผลกำไรได้มากเท่านั้น

ขั้นตอนที่ 2 ทำความรู้จักกับลูกค้าของคุณ ธุรกิจจะประสบผลสำเร็จเมื่อคุณรู้ว่าความต้องการของลูกค้าคืออะไร และสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ บางทีคุณอาจเป็นลูกค้าเสียเอง และสิ่งที่คุณคาดหวังคืออะไร ถ้าคุณไม่ใช้สินค้าหรือบริการนั้นๆ คุณพอจะทราบไหมว่ายังมีใครอื่นอีกที่ขายสินค้าหรือบริการ ลูกค้าคาดหวังอะไร จงค้นหาให้พบว่าใครคือลูกค้าของคุณ ทำไม อย่างไร เมื่อไร เท่าไร และ ข้อเท็จจริงอื่นๆ ยิ่งคุณมีข้อมูลเกี่ยวกับลูกค้ามากเท่าไหร่คุณก็จะขายสินค้าได้มากเท่านั้น

ขั้นตอนที่ 3 ทำความรู้จักกับกฎหมายธุรกิจ กฎหมายธุรกิจที่ส่งเสริมการค้าที่ยุติธรรม และ ส่งเสริมสุขภาพชุมชน ติดต่อกับหน่วยงานรัฐบาลและศึกษาการทำธุรกิจของคุณต้องดำเนินการตามกฎหมาย ประเภทใด ในแต่ละประเทศจะมีกฎหมายบังคับใช้ไม่เหมือนกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำธุรกิจแบบโฮมบิสิเนส ซึ่งลูกค้าจะต้องมาหาคุณที่บ้าน บางประเทศจะต้องให้ธุรกิจมีใบอนญาตประกอบการ เช่น ใบอนุญาตให้ประกอบการร้านขายอาหาร ซึ่งคุณจะต้องมีการเสียภาษีด้วย เป็นต้น

ขั้นตอนที่ 4 ทำความรู้จักกับทรัพย์สิน คุณอาจจะต้องมีหลักทรัพย์ที่ใช้ในการดำเนินธุรกิจซึ่งบางที่มากกว่าที่คุณ คิดเอาไว้เสียอีก คือ นอกจากคุณจะต้องมีทักษะความรู้ความสามารถ สติปัญญา ประสบการณ์และเงินออมจำนวนหนึ่งแล้ว คุณจะต้องมีเวลาด้วย คุณจะต้องทำรายการทรัพย์สิน ตลอดจนถึงเวลาที่คุณใช้ในการทำงาน เมื่อตอนที่เราเริ่มต้นธุรกิจงานเขียนเมื่อหลายปีมาแล้ว ทุก ๆ เช้าเราจะต้องทำงานเขียนก่อนออกไปทำงานตามปกติ และเวลาว่างตอนพักเที่ยงเราก็มีเวลาเขียนเอกสารได้ด้วยเช่นกัน

ขั้นตอนที่ 5 การเพิ่มมูลค่าที่แท้จริง เมื่อคุณเลือกดำเนินธุรกิจประเภทใดแล้วก็ตาม คุณจะต้องเพิ่มมูลค่าที่แท้จริงให้กับงานบริการของคุณ เช่น งานเลขานุการ คุณอาจจะมีบริการรับส่งเอกสารฟรี หรือ การเป็นคนดูแลสัตว์เลี้ยง คุณอาจใช้เวลาทุกวัน ๆ ละ 1 ชั่วโมงสำหรับการฝึกสัตว์ให้เชื่อฟัง หรือคนทำบัญชีก็อาจจะต้องเตรียมแบบฟอร์มการเสียภาษีให้แก่ลูกค้าที่มีการ เซ็นต์สัญญาจ้างงานเป็นรายปี จงทำให้มากกว่าที่ลูกค้าคาดหวัง และ ทำให้ดีกว่าคู่แข่ง และ ธุรกิจของคุณจะประสบความสำเร็จ

ขั้นตอนที่ 6 รักษาลูกค้าที่ดีไว้ เพราะว่าลูกค้าบางคนนั้นคุณจะรู้สึกว่าค้าขายได้ง่ายกว่าลูกค้าบางคน ลูกค้าบางคนเอาใจยาก บางคนก็ลืมจ่ายเงินแก่คุณ เมื่อคุณมองเห็นแล้วว่าลูกค้าแบบไหนน่าจะสร้างกำไรในธุรกิจของคุณได้มากคุณ ก็จะต้องเก็บรักษาที่ดีนั้นไว้ สร้างความสัมพันธ์อันดีกับลูกค้า และคิดดูว่าคุณจะสามารถเสนอบิรการอะไรที่ดี ๆให้แก่ลูกค้าเหล่านั้น และดูว่ายังพอมีเพื่อน ๆ หรือ ญาติอีกบ้างไหมที่คุณจะเสนองขายงานบริการของคุณแก่พวกเขาได้ การรักษาลูกค้าที่ดี ๆ เอาไว้ก็ดีกว่าการเสียเวลากับลูกค้าที่ไม่ช่วยให้ธุรกิจของคุณเติบโต

ขั้นตอนที่ 7 จัดการเงินอย่างชาญฉลาด เมื่อคุณมีรายได้เข้าร้าน บางทีคุณอาจจะลืมไปว่านั่นไม่ใช่เงินของคุณทั้งหมด แต่คุณจะต้องมีการแบ่งเงินบางส่วนไว้สำหรับค่าใช้จ่ายบางอย่างด้วย เช่น ค่าโทรศัพท์ ค่าวัสดุอุปกรณ์ และ ค่าภาษี สิ่งที่คุณสามารถเก็บเป็นของคุณได้คือ กำไรที่หักค่าใช้จ่ายแล้ว ยิ่งคุณสามารถจัดการด้านการเงินอย่างฉลาดคุณก็จะเหลือผลกำไรมาก เพราะว่าเงินโดยส่วนใหญ่มักจะหลุดมือไปจากคุณเพราะการถูกล่อลวงให้ต้องซื้อ โน่นซื้อนี่อยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ ซอฟแวร์หรืออุปกรณ์พิเศษบางอย่าง เป็นไปได้ว่าคุณน่าจะได้จัดทำรายการสิ่งของที่จะต้องซื้อและลงวันที่ที่จะ ซื้อไว้ด้วย ควรจะจดบันทึกไว้ล่วงหน้าอย่างน้อยสัก 30 วันก่อนที่จะซื้อ ซึ่งจะทำให้คุณทราบว่าของที่คุณซื้อมานั้นใช้งานได้คุ้มค่าหรือไม่ ทำกำไรให้คุณได้มากน้อยเท่าไร

ขั้นตอนที่ 8 จงทำให้ดีกว่าเดิม การทำให้ดีนั้นเป็นสิ่งดี แต่ไม่ใช่ว่ามันจะคงอยู่ได้ตลอดเวลาน ดังนั้น คุณจะต้องทำให้ดีขึ้น ดีกว่าเดิม ดีกว่าคู่แข่งทางการค้าของคุณ ทำให้ดีกว่าเดือนที่แล้ว ปรับปรุงบริการของคุณ หาความรู้เกี่ยวกับธุรกิจ ลูกค้า และ กฎหมาย อาจจะด้วยการลงทุนในทรัพย์สินมากขึ้น เพิ่มคุณค่างานบริการให้สูงขึ้น และ เก็บรักษาลูกค้าที่ดีๆ ไว้ และจะต้องจัดการด้านการเงินอย่างชาญฉลาดทุก ๆวัน

คำแนะนำ : ต้องยอบรับว่า ในการทำธุรกิจให้ประสบความสำเร็จนั้น จะต้องขึ้นอยู่กับตัวคุณเป็นหลัก เรามีหน้าที่ในการนำเสนอข้อมูลเท่านั้น การตัดสินใจได้เร็วและถูกต้องของคุณ จะทำให้คุณสามารถเริ่มต้นได้ก่อนใครและจะสามารถประสบความสำเร็จก่อนใคร

วันพุธที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2553

ถึงเวลา...รื้อสุสานคอมพิวเตอร์

ปัจจุบัน คอมพิวเตอร์ราคาถูกมาก ซื้อหาง่าย ทำให้การใช้แล้วทิ้งมีปริมาณมากขึ้น จึงกลายเป็นปัญหา เพราะเมืองไทยยังไม่มีโรงงานรีไซเคิลคอมพิวเตอร์ ตามสถิติแล้วคอมพิวเตอร์จะมีอายุการใช้งาน 2-3 ปี หลังจากนั้นอุปกรณ์บางชิ้นจะใช้การไม่ได้ กลายเป็นขยะเพิ่มมลพิษให้โลกใบนี้

แม้อุปกรณ์ส่วนใหญ่จะสามารถนำกลับมารีไซเคิลได้ แต่บางชิ้นก็ยากต่อการกำจัด ถ้าจะกำจัดต้องผ่านโรงงานรีไซเคิลที่เป็นระบบ และสิ่งที่น่าเป็นห่วงคือ เมืองไทยยังไม่มีโรงงานรีไซเคิลคอมพิวเตอร์อย่างเป็นรูปธรรม ขณะที่ปัญหาขยะคอมพิวเตอร์มีปริมาณมากขึ้นเรื่อยๆ แต่ในมุมหนึ่งก็มีการนำคอมพิวเตอร์ที่ใช้การไม่ได้กลับมาซ่อมแซม เพื่อนำไปบริจาคให้สถานศึกษาและจำหน่ายในราคาถูก รวมถึงดัดแปลงชิ้นส่วนนำไปใช้กับอุปกรณ์และเครื่องมืออิเลคทรอนิกส์บางชนิด แต่อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันขยะคอมพิวเตอร์กำลังจะกลายเป็นสุสานที่มีขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ และกระจัดกระจายอยู่ทุกหย่อมในสังคม ซึ่งคนส่วนใหญ่ไม่ได้ตระหนักรู้ถึงพิษภัยขยะคอมพิวเตอร์ที่ประกอบด้วยโลหะ หนัก เนื่องจากชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์บางชิ้นบางรุ่นไม่สามารถนำกลับมาใช้ได้ จึงกลายเป็นขยะพิษทิ้งขว้างตามที่ต่างๆ โดยปกติแล้วคอมพิวเตอร์มีส่วนประกอบหลายชนิด อาทิ แผงวงจร แบตเตอรี่ หลอดรังสีแคโทดในจอภาพ หม้อแปลง และมีส่วนผสมของโลหะอันตรายทั้งตะกั่ว ปรอท นิกเกิลและแคดเมียม ซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพมนุษย์และสิ่งแวดล้อม แม้จะมีการฝั่งกลบก็ย่อยสลายได้ยากขยะเสก 'โรค'

ปัญหาขยะคอมพิวเตอร์ แม้จะไม่ใหญ่เท่าเครื่องมืออิเลคทรอนิกส์พวกโทรทัศน์ ตู้เย็น หรือ โทรศัพท์มือถือ ฯลฯ แต่ขยะเหล่านี้กำลังเป็นปัญหาใหญ่ในสังคม แม้กระทั่งประเทศในยุโรปยังออกมาตรการป้องกันไม่ให้มีการนำไปฝังกลบ เนื่องจากมีองค์ประกอบของวัสดุมีพิษ แต่ในหลายประเทศก็ยังมีการฝังกลบ

เมื่อ 10 ปีที่แล้วทางกระทรวงคุ้มครองสิ่งแวดล้อม สหรัฐอเมริกา ออกมายืนยันว่า ขยะอิเลคทรอนิกส์กว่า 4.6 ล้านตันถูกนำไปฝังกลบ และมีหลายประเทศไม่สนใจปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้น ยกตัวอย่างในฮ่องกง มีการนำคอมพิวเตอร์ประมาณร้อยละ 10-20 ไปทิ้งและนำไปฝังกลบ
ปริมาณขยะคอมพิวเตอร์ที่เพิ่มขึ้นทุกปี ทำให้บางแห่งกลายเป็นสุสานขนาดใหญ่ สูญเสียพลังงานจำนวนมาก เนื่องจากการผลิตคอมพิวเตอร์ 1 เครื่องต้องใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลพวกถ่านหิน น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ และสารเคมีเป็น 10 เท่าของน้ำหนักเครื่อง

นอกจากนี้ยังมีการเรียกร้องให้มีการใช้วัสดุเคมีที่เป็นอันตรายต่อ โลกน้อยลง รวมถึงผู้บริโภคยื่นเงื่อนไขให้ผู้ผลิตรับผิดชอบในการกำจัดเครื่อง คอมพิวเตอร์รุ่นเก่า ซึ่งมีรายงานว่า เฉพาะในสหรัฐอเมริกาประเทศเดียว แต่ละปีมีคอมพิวเตอร์ต้องกำจัดทิ้งประมาณ 30 ล้านเครื่อง

ในเมืองไทยแม้จะมีการนำคอมพิวเตอร์กลับมาซ่อมแซม เพื่อใช้ใหม่อีกครั้ง แต่ยังมีคอมพิวเตอร์อีกจำนวนมากใช้การไม่ได้ จนกลายเป็นสุสานขยะ กรณีดังกล่าว ดร.ขวัญฤดี โชติชนาทวีวงศ์ ผู้ช่วยประธานสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย ซึ่งเคยศึกษาเรื่องคอมพิวเตอร์กับการรีไซเคิล และติดตามผลอย่างต่อเนื่อง กล่าวว่า ชิ้นส่วนเครื่องคอมพิวเตอร์นำมารีไซเคิลได้เกือบหมด แต่เมืองไทยไม่มีโรงงานรีไซเคิล ทั้งๆ ที่ตลาดด้านนี้เติบโตอย่างรวดเร็ว แม้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์จะเป็นส่วนหนึ่งของขยะอิเลคทรอนิกส์ แต่ก็เป็นปัญหาใหญ่ของเมืองไทย "ในสังคมไทยมีการเพิกเฉยต่อขยะที่กองเป็นภูเขา มีบางหมู่บ้านทำเรื่องแยกชิ้นส่วนขยะคอมพิวเตอร์และขยะอิเลคทรอนิก แต่แยกไม่ถูกวิธี ทั้งๆ ที่มีอุปกรณ์บางชิ้นเป็นอันตรายต่อสุขภาพ แต่พวกเขาไม่รู้ จากที่เห็นการแยกชิ้นส่วน ถ้าชิ้นส่วนใดไม่มีประโยชน์ คนแยกก็จะกองทิ้งไว้ พอฝนตกก็ชะล้างสารพิษลงดิน นอกจากผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ยังมีผลกระทบต่อสุขภาพด้วย เรื่องนี้น่ากลัว พวกอุปกรณ์ไฟฟ้าตู้เย็น ทีวี มีปัญหามากกว่าชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ “ เธอพยายามเปรียบเทียบให้เห็นว่า ขยะต่างรูป ไม่ว่าแบตเตอรีโทรศัพท์มือถือ ถ่านไฟฉาย และชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์จะมีองค์ประกอบสารพิษต่างกัน และเรื่องนี้ยังไม่มีผู้ทำงานวิจัยออกมาเป็นรูปธรรม หากมองเฉพาะขยะคอมพิวเตอร์ที่ถูกทิ้งขว้างไม่ได้รับการเหลียวแล และกำลังเป็นปัญหาในเวลานี้และอนาคต เพราะมีส่วนประกอบหลายอย่างเป็นอันตรายต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม ยกตัวอย่าง อุปกรณ์ในคอมพิวเตอร์พวกหลอดรังสีแคโทด โลหะบัดกรีในแผงวงจร ซึ่งเป็นสารตะกั่ว หากสารพิษเหล่านี้สะสมในร่างกายมนุษย์ในปริมาณมาก ก็จะทำลายระบบประสาทส่วนกลาง ไตและระบบสืบพันธุ์ และเมื่อสารพิษสะสมในบรรยากาศ ก็จะมีผลต่อดิน พืช สัตว์ และจุลชีพ ส่วนฟอสฟอรัสที่ใช้เคลือบผิวหน้าภายในหลอดรังสีแคโทด มีข้อมูลจากการทหารเรือ เตือนว่า สารชนิดนี้มีความเป็นพิษสูง มีผลต่อผิวหนังและระบบย่อยอาหาร หากได้รับปริมาณมาก อาจทำให้เสียชีวิตได้ ส่วนแผงวงจรหลักมีสารพวกเบริลเลียม หากสัมผัสสารชนิดนี้จะทำให้เกิดแผลที่ผิวหนัง และเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งปอด นอกจากนี้สารแคดเมียมในแผงวงจร แบตเตอรี่ และหลอดรังสีแคโทดแบบเก่า ถ้าสะสมในร่างกายมากๆ จะทำให้ไตมีปัญหาและกระดูกผุกร่อน แยกชิ้นส่วน...รีไซเคิล ในต่างประเทศชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ 1 เครื่อง หากมีการแยกส่วนตามประเภทวัสดุ จะมีทั้ง ซีพียู หลอดภาพ แผงวงจร อุปกรณ์อิเลคทรอนิกส์ พลาสติกและโลหะ ซึ่งสามารถนำกลับมาใช้ได้เกือบหมด

“การรีไซเคิลขยะคอมพิวเตอร์สามารถเพิ่มมูลค่าได้มากกว่า การทำลายทิ้งและฝังกลบ เพราะคอมพิวเตอร์ใช้งานสองปี อุปกรณ์บางชิ้นก็หมดสภาพ วิธีการรีไซเคิลคอมฯ น่าจะง่ายกว่าการกำจัด แต่ไม่เกิดในสังคมไทย เพราะปัญหาหลายอย่าง เมืองไทยไม่มีระบบการเรียกเก็บคอมพิวเตอร์คืน ซึ่งในต่างประเทศมีระบบนี้ แต่ในสังคมไทยมีข้อดีอย่างหนึ่งคือ มีการนำคอมพิวเตอร์ที่มีปัญหาการใช้งาน กลับมาซ่อมแซมใช้ใหม่และแยกชิ้นส่วนไปใช้อย่างอื่น” ดร.ขวัญฤดี กล่าวและบอกว่า
ช่วงหลายปีที่ผ่านมา ประเทศเพื่อนบ้านอย่างฟิลิปปินส์มีโรงงานรีไซเคิลคอมพิวเตอร์แล้ว ถ้าชิ้นส่วนอุปกรณ์ตัวไหนรีไซเคิลไม่ได้ พวกเขาก็จะส่งไปรีไซเคิลที่ประเทศเยอรมัน และโดยปกติโรงงานรีไซเคิลในฟิลิปปินส์จะรับขยะคอมพิวเตอร์จากโรงงานในสหรัฐ อเมริกามารีไซเคิล
ในช่วงที่เธอไปดูงานรีไซเคิลคอมพิวเตอร์ใน ฟิลิปปินส์ เธอบอกว่า ที่นั่นเป็นโกดังเล็กๆ ด้านหน้ามีแผนกซ่อมแซมคอมพิวเตอร์ประกอบใหม่ และมีแผนกรีไซเคิลอื่นๆ ทั้งฝ่ายถอดน็อค ถอดจอ และชิ้นส่วน ฯลฯ
“จริงๆ แล้วการทำโรงงานรีไซเคิลชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ไม่ใช่เรื่องยาก พวกชิปตัวเล็กๆ หรือชิ้นส่วนบางชนิดที่สกัดด้วยสารเคมีเป็นงานที่ยากในการรีไซเคิล ทางฟิลิปปินส์ก็จะส่งไปที่เยอรมัน ”ดร.ขวัญฤดี กล่าว และอธิบายต่อว่าในประเทศพัฒนาแล้วมีจำนวนคอมพิวเตอร์ที่ถูกทิ้งมากขึ้น เรื่อยๆ จึงต้องมีโรงงานรีไซเคิล เพื่อรับรองปัญหาส่วนนี้ ในญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกา หากคอมพิวเตอร์ใช้งานไม่ได้แล้ว พวกเขาจะทิ้งแล้วซื้อเครื่องใหม่ ส่วนในเมืองไทยยังไม่มีโรงงานรีไซเคิลคอมพิวเตอร์ ครบวงจร มีเพียงโรงงานรีไซเคิลพลาสติก และโรงงานสกัดทองออกจากโลหะ
“เราไม่มีโรงงานรีไซเคิลจอภาพ เพราะสารพิษพวกฟอสฟอรัสเคลือบผิวหน้าภายในหลอดรังสีแคโทดจอภาพมีความเป็นพิษ สูงมาก สาเหตุที่ไม่มีโรงงานรีไซเคิลในเมืองไทย เพราะระบบการซื้อขายไม่เอื้อให้คนซื้อนำคอมพิวเตอร์ใช้การไม่ได้กลับคืนสู่ โรงงานรีไซเคิล แต่ในอนาคตต้องมีโรงงานรีไซเคิลคอมพิวเตอร์” มัดจำ ทำระบบซาเล้ง
ดร.ขวัญฤดี บอกอีกว่า ต้องมีระบบเรียกเก็บคอมพิวเตอร์ที่หมดอายุการใช้งาน สามารถทำเป็นระบบมัดจำ ถ้านำมาคืนจะได้รับเงินเพื่อนำกลับมาที่โรงงานรีไซเคิล

“ต้องเอาร้านเล็กๆ มารวมกันเพื่อทำเป็นโรงงาน และจัดระบบการจัดการที่ดี เพราะขยะคอมพิวเตอร์ ถ้าทิ้งไว้กลางแจ้ง เมื่อฝนตกชะล้างสารพิษลงดิน ย่อมมีผลต่อระบบนิเวศน์”
มาตรการที่เธอเสนอ ก็คือ ต้องนำกฏหมายมาใช้บังคับ เพื่อเรียกเก็บคอมพิวเตอร์และชิ้นส่วนอิเลคทรอนิกส์ที่ใช้การไม่ได้ และมีสารพิษที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์

“เมืองไทยยังจัดการชิ้นส่วนอิเลคทรอนิกส์ได้ไม่ดี มีขยะคอมพิวเตอร์ทิ้งไว้เป็นกอง เป็นอันตราย เพราะเราไม่วางระบบ ถ้าวางระบบเชื่อมโยงกับซาเล้ง โรงงานรีไซเคิลก็น่าจะเกิด“
เธอยกตัวอย่างกรณีหมู่บ้านกาฬสินธุ์ที่มีการแยกชิ้นส่วนอิเล คทรอนิกส์ ซึ่งมีอุปกรณ์คอมพิวเตอร์รวมอยู่ด้วย และเคยมีพ่อค้าไปรับชิ้นส่วนจากนิคมอุตสาหกรรมมาแบ่งให้คนในหมู่บ้านแยกชิ้น ส่วน แต่กลายเป็นว่า งานแยกชิ้นส่วนขยะพวกนี้ทำให้คนป่วยจำนวนมาก แต่ไม่มีนักวิจัยคนใดศึกษาว่า คนแยกขยะป่วยเพราะอะไร มีเพียงข้อมูลยืนยันว่า ผู้ป่วยมีสารโลหะในกระแสเลือด
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ดร.ขวัญฤดีย้ำเสมอ ก็คือ การเรียกคืนคอมพิวเตอร์ใช้แล้ว โดยมีค่าธรรมเนียมเป็นแรงจูงใจให้ประชาชนนำคอมพิวเตอร์มือสองกลับมารีไซเคิล
“เวลาแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม ไม่ใช่แก้เรื่องใดเรื่องหนึ่ง ต้องแก้ทั้งระบบ เรื่องมลพิษต้องมองปัจจัยหลายเรื่อง ไม่ใช่สารพิษอย่างเดียว”
รีไซเคิล เงินทั้งนั้น

ส่วนประกอบในเครื่องคอมพิวเตอร์ หากมองหยาบๆ...ตัวเครื่องจะประกอบด้วยเหล็ก คีย์บอร์ดมีส่วนผสมของพลาสติก และพรินเตอร์มีทั้งพลาสติกและเหล็ก ทั้งหมดล้วนมีมูลค่าในการรีไซเคิล
นอกจากกระบวนการรีไซเคิลขยะคอมพิวเตอร์ให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากมีความคิดสร้างสรรค์ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์หลายอย่างนำมาดัดแปลงใช้ประโยชน์ได้อีก ยกตัวอย่างซีดีรอม สามารถนำกลับใช้เป็นมอเตอร์ไฟฟ้าทำหุ่นยนต์บังคับ ,พัดลมระบายความร้อนในตัวเครื่อง นำมาทำพัดลมระบายความร้อนในรถยนต์ หรือใช้ในอุปกรณ์อื่นๆ ที่ชิ้นส่วนไม่ใหญ่มาก
พันเอกสิทธิโชค มุกเตียร์ ผู้อำนวยการกองสารสนเทศ กรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกลาโหม นักประดิษฐ์อีกคนที่รู้จักใช้ประโยชน์จากขยะคอมพิวเตอร์ เขาซื้อฮาร์ดดิสก์เก่าๆ ที่คนจำนวนมากไม่สนใจจากร้านซาเล้ง แล้วนำมารื้อ ถอด แยกชิ้นส่วนโลหะ เพื่อนำมาทำเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ประดิษฐ์สิ่งต่างๆ ให้เคลื่อนไหวกว่า 30 ชนิด อาทิ กระดิ่งไฟฟ้า ไมโครโฟน แขนกลเครื่องดนตรี และจานรับสัญญาณดาวเทียม ฯลฯ
"พวกฮาร์ดดิสก์เสียๆ ตัวละประมาณ 50-60 บาท ผมเอามาใช้ประโยชน์ได้เยอะ ฮาร์ดดิสก์ประกอบด้วยวงจรคอมพิวเตอร์ แขน ซึ่งมีปลายเข็มอ่านข้อมูลได้เร็วมาก และแม่เหล็ก บางตัวผมนำมาทำเครื่องวัดแรงสั่นสะเทือนแผ่นดินไหว ผมสอนให้เด็ก เยาวชนและคนรุ่นใหม่นำฮาร์ดดิสก์พวกนี้มาประกอบวัสดุสิ่งของให้เคลื่อนไหว ได้ บางชิ้นทำเป็นอุปกรณ์ในตุ๊กตาขยับแขนได้ ผมเห็นในเมืองนอก นำแผงวงจรในอุปกรณ์ขยะคอมพิวเตอร์มาทุบ เพื่อแยกส่วนผสมที่เป็นทองออกมา"

แม้กระทั่งแผ่นฮาร์ดดิสก์ด้านในที่มีความแวววาวเหมือนกระจก เขาสามารถดัดแปลงทำเป็นจานรับสัญญาณดาวเทียม ในส่วนนี้เขาบอกว่า ต้องใช้แผ่นฮาร์ดดิสก์กว่า 600 แผ่น และแผ่นฮาร์ดดิสก์เหล่านี้สามารถนำมาทำเครื่องต้มน้ำได้ด้วย
"มีคนบอกผมว่า ขยะมีค่าสำหรับเขา เพียงแต่อยู่ผิดที่ผิดทางเท่านั้นเอง" พันเอกสิทธิโชค ว่าไว้