วันพุธที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2553

เคล็ดลับ 11 วิธีล้างผักให้สะอาด

1) โซดาทำขนมปัง
ใช้โซดาทำขนมปัง(โซเดียมไบคาร์บอเนต) 1 ช้อนโต๊ะผสมน้ำอุ่น 20 ลิตร(1 กาละมัง) แช่ผักทิ้งไว้ 15 นาที ลดสารพิษได้ 90-95 %

2)น้ำส้มสายชู
เตรียมน้ำส้มสายชู 0.5 % โดยใช้น้ำส้มสายชู อสร. 1 ขวดผสมน้ำ 4 ลิตร แช่ผักทิ้งไว้ 15 นาที ลดสารพิษฆ่าแมลงได้ 60-84 %

3)น้ำไหล
เด็ดผักเป็นใบๆ ใส่ตะกร้าโปร่ง เปิดน้ำไหลแรงพอประมาณ ใช้มือช่วยคลี่ใบผัก ล้างนาน 2 นาที ลดสารพิษฆ่าแมลงได้ 54-63 %

4)แช่น้ำ
ล้างผักรอบแรกให้สะอาด เด็ดผักออกเป็นใบๆ แช่ในอ่างน้ำนาน 15 นาที ลดสารพิษฆ่าแมลงได้ 7-33 %

5)ลวกผัก
ลวก ผักด้วยน้ำร้อนลดสารพิษได้ 50 % ส่วนการต้มนั้นลดสารพิษได้ 50 % เช่นเดียวกัน แต่จะมีสารพิษตกค้างในน้ำแกง จึงควรล้างผักลดสารพิษก่อนทำแกง

6)ปอกเปลือก
การปอกเปลือก หรือลอกใบชั้นนอกออก เช่น กะหล่ำปลี ฯลฯ ช่วยลดสารพิษลงได้

7)คลอรีน
ผสมผงปูนคลอรีน ½ ช้อนชากับน้ำ 20 ลิตร แช่ผักทิ้งไว้ 15-30 นาทีจะฆ่าเชื้อโรคได้ดีมาก

8)ด่างทับทิม
ผสมด่างทับทิม 5 เกล็ดต่อน้ำ 4 ลิตร แช่ผักทิ้งไว้

9)น้ำปูนใส
เตรียมน้ำปูนใสอิ่มตัวผสมน้ำเท่าตัว แช่ผักทิ้งไว้

10)น้ำเกลือ
ใช้เกลือ 2 ช้อนโต๊ะผสมน้ำ 4 ลิตร แช่ผักทิ้งไว้

11) น้ำซาวข้าว
ใช้น้ำซาวข้าวล้างผัก

คำแนะนำ:

* น้ำไหล
วิธีใช้น้ำไหลล้างผักค่อนข้างเปลืองน้ำ ถ้าเป็นไปได้, ควรเก็บน้ำล้างผักไว้รดต้นไม้ หรือใช้ทำประโยชน์อย่างอื่น

* การล้างผลไม้
การ ล้างผลไม้โดยใช้น้ำยาล้างจานกับฟองน้ำ(หรือสก๊อตไบรต์)เบาๆ ช่วยลดโอกาสติดเชื้อที่อยู่บริเวณผิวของผลไม้ได้ การล้างไข่ก่อนทำอาหารก็ใช้วิธีนี้ได้

* น้ำล้างจาน
น้ำยา ล้างจานมีสารคล้ายสบู่ เป็นสารประกอบกำมะถัน ซึ่งพืชผักใช้เป็นปุ๋ยได้ดีมาก สารคล้ายสบู่มีฤทธิ์ทำให้ดินร่วน ไม่จับตัวกันแน่น รากของพืชผักจะชอนไชไปหาอาหารได้ดีขึ้น

* น้ำซักผ้า
ผง ซักฟอกมีสารคล้ายสบู่ เป็นสารประกอบฟอสฟอรัส(P) ใช้เป็นปุ๋ยรดพืชผักได้ เวลาใช้ควรใช้แต่น้อย หรือทำให้เจือจางก่อนรด ปุ๋ยจากน้ำซักผ้ามีฤทธิ์เร่งดอกไม้ได้คล้ายกับปุ๋ยที่มีฟอสฟอรัสสูง น้ำยาซักผ้าหลายชนิดไม่ได้ใช้เกลือฟอสฟอรัส หันไปใช้เกลือกำมะถันแทน ใช้เป็นปุ๋ยบำรุงพืชผักได้ แต่จะไม่มีคุณสมบัติเร่งดอกได้เท่าปุ๋ยจากผงซักฟอก

จากวารสารหมอชาวบ้าน

นาโนเทคโนโลยี คือ ??

นาโนเทคโนโลยี (อังกฤษ: Nanotechnology) คือ เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการจัดการ การสร้างหรือการวิเคราะห์ วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องจักรหรือผลิตภัณฑ์ที่มีขนาดเล็กมาก ๆ ในระดับนาโนเมตร(ประมาณ 1-100 นาโนเมตร) รวมถึงการออกแบบหรือการประดิษฐ์เครื่องมือเพื่อใช้สร้างหรือวิเคราะห์วัสดุในระดับที่เล็กมากๆ เช่น การจัดอะตอมและโมเลกุลในตำแหน่งที่ต้องการได้อย่างถูกต้องแม่นยำ ส่งผลให้โครงสร้างของวัสดุหรืออุปกรณ์มีคุณสมบัติพิเศษขึ้นไม่ว่าทางด้านฟิสิกส์ เคมี หรือชีวภาพ และสามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้

ริชาร์ด ไฟน์แมน (Richard Feynman) เป็นผู้ที่ได้รับการยอมรับว่า เป็นคนแรกที่แสดงความเห็นถึงความเป็นไปได้ และแนวโน้มของนาโนเทคโนโลยี ในการบรรยายเรื่อง “There’s plenty of room at the bottom” ที่สถาบันเทคโนโลยีแคลิฟอร์เนีย เมื่อปี ค.ศ. 1959 (พ.ศ. 2502) โดยการแสดงความเห็นถึงความเป็นไปได้ และโอกาสของประโยชน์ที่จะได้จากการจัดการในระดับอะตอม




















ปี ค.ศ. 1974 (พ.ศ.
2517) ศาสตราจารย์ โนริโอะ ทานิกูชิ (Norio Taniguchi) แห่งมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์โตเกียวเป็นคนแรกที่เริ่มใช้คำว่า “Nanotechnology” (N. Taniguchi, "On the Basic Concept of 'N
ano-Technology'," Proc. Intl. Conf. Prod. Eng. Tokyo, Part II, Japan Society of Precision Engineering, 1974)

นาโนเทคโนโลยีช่วยอะไรเราได้บ้าง

1.พบทางออกที่จะได้ใช้พลังงานราคาถูกและสะอาดเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
2.มีน้ำที่สะอาดเพียงพอสำหรับทุกคนในโลก
3.ทำให้มนุษย์สุขภาพแข็งแรงและอายุยืนกว่าเดิม (มนุษย์อาจมีอายุเฉลี่ยถึง 200 ปี)
4.สามารถเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรได้อย่างพอเพียงกับประชากรโลก
5.เพิ่มศักยภาพในการติดต่อสื่อสารของผู้คนทั้งโลกอย่างทั่วถึง ทัดเทียม และพอเพียง
6.เพิ่มศักยภาพในการสำรวจอวกาศมากขึ้น

สาขาย่อยของนาโนเทคโนโลยี

1.นาโนอิเล็กทรอนิกส์ (Nanoelectronics)
2.นาโนเทคโนโลยีชีวภาพ (Bionanotechnology)
3.นาโนเซนเซอร์ (Nanosensor)
4.การแพทย์นาโน (Nanomedicine)
5.ท่อนาโน (Nanotube)
6.นาโนมอเตอร์ (Nanomotor)
7.โรงงานนาโน (Nanofactory)













ตัวอย่างผลงานจากนาโนเทคโนโลยี

-คอนกรีตชนิดหนึ่งใช้เทคโนโลยีนาโน ใช้ Biochemical ทำปฏิกิริยาย่อยสลายกับมลภาวะที่เกิดจากรถยนต์ เช่น ไนโตรเจนไดออกไซด์ ในประเทศอังกฤษได้เริ่มมีการใช้เทคโนโลยีนี้ในการสร้างถนนและอุโมงค์ต่างๆ เพื่อลดมลภาวะบนท้องถนน และขณะเดียวกันเทคโนโลยีนาโน ทำให้อนุภาคคอนกรีตมีขนาดเล็กมาก ฝุ่น และแบคทีเรีย ไม่สามารถฝังตัวในเนื้อคอนกรีตได้ ทำให้อาคารที่ใช้คอนกรีตชนิดนี้ ดูใหม่เสมอ และยังคงไม่สะสมเชื้อโรค
-เสื้อนาโน ด้วยการฝัง อนุภาค
นาโนเงิน (silver nanoparticle) ทำให้เกิดปฏิกิริยากับการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย
-ไม้เทนนิสนาโน ผสม ท่อคาร์บอนนาโน เป็นตัวเสริมแรง ทำให้แข็งแรงขึ้น (อ่าน วัสดุผสม)