วันพฤหัสบดีที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2555

7 หลักคิด...มหัศจรรย์แห่งชีวิต

ใครที่ยังมีทุกข์ทางใจและกำลังมองหาหนทางในการดับทุกข์นั้น ขอให้รู้ว่าท่าน ว.วชิรเมธี ได้ให้ข้อคิดดีๆ มาลองปรับทัศนะของชีวิตด้วย “7 หลักคิด...มหัศจรรย์แห่งชีวิต”


          1.  ความคิดดีๆ เป็นที่มาแห่งความสุขดังที่ท่าน ว.วชิรเมธี กล่าวไว้ว่า “โลกเป็นอย่างไรขึ้นอยู่กับว่าเราใส่แว่นตาสีอะไรมองโลก หากมองโลกในแง่ดี ชีวิตมีแต่สิ่งรื่นรมย์ หากมองโลกในแง่ร้าย ชีวิตมีแต่ความวุ่นวายและทุกข์ระทม”

          2 . ปัญญาดีย่อมมีความสุข “คนมีปัญญาย่อมใช้ปัญญาในการแก้ปัญหาเพื่อให้พ้นทุกข์ ดังนั้น สำหรับคนมีปัญญา วิกฤตอยู่ไหน ปัญญาอยู่นั่น ส่วนคนด้อยปัญญา โอกาสอยู่ไหน วิกฤตอยู่นั่น จงเรียนรู้ที่จะเปลี่ยนปัญหาให้เป็นปัญญา เปลี่ยนอุปสรรคเป็นอุปกรณ์”

          3.  ชีวิตของคนดีคือชีวิตที่มีความสุข ท่าน ว.วชิรเมธี กล่าวไว้ว่า “ดอกไม้หอมได้บางดอก แต่มนุษย์หอมได้ทุกคนหากเขาเป็นคนดี กลิ่นดอกไม้แม้หอมขนาดไหน ก็หอมได้แต่ตามลมเท่านั้น ส่วนกลิ่นความดีของคนดีนั้น หอมหวนทวนลมฟุ้ง กระจายไปในทิศทั้งสี่ ดอกไม้ผลิบานแล้วไม่นานก็ร่วงโรย แต่ความดีของคนนั้น สถิตเป็นนิรันดร์เหนือกาลเวลา”

          4.  ปฏิสัมพันธ์ดีก็มีความสุข “จงเลือกคบมิตร โลกนี้มีมิตรอยู่ 3 ประเภท 1. บาปมิตร เพื่อนชั่ว จงอย่าคบ 2. กัลยาฯมิตร เพื่อนดี จงคบ 3. พันธมิตร เพื่อที่ผูกพันกันด้วยผลประโยชน์ จงระวัง”

          5.  ทำงานดีก็มีความสุข ท่าน ว.วชิรเมธี กล่าวไว้ “คนจำนวนมากเป็นทุกข์ขณะทำงาน แต่เบิกบานเฉพาะเสาร์ – อาทิตย์ โดยหารู้ไม่ว่าในหนึ่งสัปดาห์มีเสาร์ – อาทิตย์ แค่สองวัน จงเป็นสุขขณะทำงาน ลงเบิกบานขณะหายใจ”

          6.  มองโลกในแง่ดี ชีวิตมีความสุข ดังที่ท่าน ว.วชิรเมธี กล่าวว่า “ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้มันถูกอยู่แล้ว มีแต่ความเห็นของเราเท่านั้นผิด ใครทำความเข้าใจคำกล่าวนี้ได้อย่างลึกซึ้ง คนนั้นจะ ไม่ทุกข์ และเขาจะไม่หวั่นไหว ในความผันแปรของชีวิต สิ่งใดเกิดขึ้นมาเขาจะอุทานอยู่เสมอว่า “มันเป็นเช่นนั้นเอง”

          7.  ครอบครัวดีทวีความสุข “ครอบครัวคือพื้นฐานสำคัญของชีวิตบุตรธิดาคืออนุสาวรีย์ของพ่อแม่ หากลูกเป็นคนดี อนุสาวรีย์ของพ่อแม่ก็งดงาม หากลูกเลวทราม อนุสาวรีย์ของพ่อแม่ก็อัปลักษณ์”

          “7 หลักคิด...มหัศจรรย์แห่งชีวิต” หลักธรรมแห่งการดำเนินชีวิตจากท่าน ว.วชิรเมธี เป็นสิ่งที่ผู้อ่านสามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน เพื่อบรรเทาความทุกข์ต่างๆที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะ ในสถานการณ์ปัจจุบัน กับภาวะเครียดที่รุมเร้าคนไทยทั้งวิกฤติการเมือง และวิกฤติการเศรษฐกิจ

           สำหรับเป็นยาชูใจกำลังใจในยามท้อแท้ได้อย่างดีเยี่ยม

สร้างพลังงานไฟฟ้า จากการก้าวเท้า



   การเก็บเกี่ยวพลังงาน (Energy Harvesting หรือ Energy Scavenging) เป็นกระบวนการนำหรือเปลี่ยนแปลงพลังงานซึ่งเป็นผลพลอยได้จากแหล่งพลังงานมาใช้ให้เกิดประโยชน์ เช่น การเก็บเกี่ยวพลังงานการไหลหรือการตกของน้ำด้วยกังหันน้ำ แล้วนำพลังงานการหมุนเวียนของกังหันมาขับเคลื่อนอุปกรณ์ต่าง ๆ เป็นต้น ถ้าเราไม่เก็บเกี่ยวพลังงานดังกล่าวซึ่งมีอยู่ในธรรมชาติ พลังงานเหล่านี้ก็อาจจะสูญเสียไปโดยเปล่าประโยชน์ ร่างกายของคนเรานั้นก็จัดว่าเป็นแหล่งพลังงานซึ่งเราสามารถเก็บเกี่ยวพลังงานได้เช่นกัน การก้าวเท้าเป็นกิจกรรมหนึ่งซึ่งใช้และให้พลังงานมาก เมื่อเทียบกับกิจกรรมในการใช้อวัยวะอื่น ๆ ของร่างกายบทความนี้กล่าวถึงวิธีการคำนวณพลังงานที่อาจสามารถเก็บเกี่ยวได้ วิธีการเก็บเกี่ยวพลังงาน อุปกรณ์ผลิตไฟฟ้าจากการก้าวเท้า และการประยุกต์ใช้ในการทหารและการอุตสาหกรรมรองเท้าของไทยการเก็บเกี่ยวพลังงานจากการก้าวเท้า จะเปลี่ยนพลังงานขณะการลงเท้าเป็นพลังงานไฟฟ้า โดยมีอย่างน้อย 5 วิธี ดังนี้
      1. เพียโซอิเล็กทริก (Piezoelectric)
      2. ไฟฟ้าสถิต (Electrostatics)
      3. การเหนี่ยวนำแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic Induction)
      4. รีเวิร์สอิเล็กโทรเวตติ้ง (Reverse Electrowetting)
      5. แม่เหล็กอุทกพลศาสตร์ (Magnetohydrodynamics)
การก้าวเท้าเป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งซึ่งเราสามารถเก็บเกี่ยวพลังงานได้ หากเราสังเกตร่างกายของเรา และสิ่งอื่น ๆ รอบตัว ทั้งที่คนสร้างขึ้นและมีอยู่ในธรรมชาติ ก็อาจจะพบว่ามีแหล่งพลังงานมากมายที่สูญเสียพลังงานในรูปแบบต่าง ๆ เราอาจเก็บเกี่ยวพลังงานที่สูญเสียนี้มาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้หรืออย่างน้อยเราก็ควรใช้พลังงานที่เกี่ยวข้องให้คุ้มค่าที่สุด เพื่อเราจะได้มีพลังงานไว้ใช้อย่างยั่งยืน

ข้อมูลจาก สมาคมผู้รับผิดชอบ ด้านพลังงาน