วันศุกร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2554

108 เคล็ดลับน่ารู้

1. แก้ปัญหาสีน้ำแห้งแข็ง ใช้น้ำส้มสายชูผสมทิ้งเอาไว้ สีน้ำที่แห้งแข็งก็จะอ่อนเหลว นำมาใช้ได้ใหม่อีกครั้ง.
2. เคล็ดลับน่ารู้ในการขจัดคราบรอยเปื้อนบนเสื้อผ้า
+ รอยเปื้อนสนิมเหล็ก ใช้เกลือ และบีบมะนาวลงบนรอยเปื้อน แล้วนำไปซักด้วยวิธีธรรมดา ตากแดดจัดๆ.
+ รอยเปื้อนยางมะตอย และกาว ใช้น้ำมันไฟแช็ค ล้างรอยเปื้อน แล้วจึงนำไปซัก.
+ รอยเปื้อนน้ำหมึก ขยี้มะเขือเทศลงบนรอยเปื้อน ทิ้งไว้ครึ่งชั่วโมง และนำไปซักด้วยวิธีธรรมดาอีกครั้ง.
+ รอยเปื้อนหมึกลูกลื่น ใช้น้ำมันใส่ผมหยอดลงไปที่รอยเปื้อน และนำไปซักด้วยผงซักฟอกอีกครั้ง.
+ รอยเปื้อนคราบเลือด ใช้แป้งมันกับน้ำเย็นผสมกันให้ข้นขนาดแป้งเปียก ทากระดาษพอกไว้บนรอยเลือดที่เปื้อน ทิ้งไว้ 2-3 ชั่วโมง แล้วซักน้ำ รอยเลือดนั้นจะหายไป.
+ รอยเปื้อนคราบลิปสติกบนเสื้อ ก็รีบหาน้ำมันยูคาลิปตัส หรือกลีเซอรีน เช็ดบริเวณที่เปื้อนโดยเร็ว...ถ้าไม่อยากมีปัญหา.
+ รอยคราบไขมันที่ติดเสื้อผ้า โรยแป้งฝุ่นตรงรอยเปื้อน แล้วเอากระดาษทิชชู่วางทับจากนั้น จึงใช้เตารีดร้อนรีดทับไว้สักครู่ จึงนำไปซักด้วยวิธีธรรมดา.
3. ขจัดคราบรอยนิ้วบนไพ่ป๊อก ใช้สำลีชุบนมสดเย็นๆ เช็ด รอยเปื้อนก็จะหลุดออกไป.
4. ดูแลรักษางาช้าง เอางาช้างวางไว้กลางแดดทั้งๆ ที่ยังเปียกน้ำสบู่อยู่ ทิ้งไว้ครึ่งชั่วโมง แล้วล้างด้วยน้ำสะอาด เมื่อแห้งแล้วขัดด้วยผ้าสักหลาด ก็จะได้งาช้างสวยสะอาดดังเดิม.
5. ขจัดคราบกาวสติกเกอร์ ใช้น้ำมันพืชหรือครีมวาสลีนมาทาสติกเกอร์ให้ชุ่ม แล้วจึงค่อยๆ ดึงออกมา.
6. วิธีล้างเครื่องหนัง หยดน้ำมันสลัดสัก 2-3 หยด ลงไปในน้ำสบู่แล้วใช้แปรงจุ่มถู จากนั้นจึงซักในน้ำสบู่ธรรมดาอีกครั้ง แล้วล้างด้วยน้ำเย็นรีบเช็ดให้แห้งตากลมไว้ น้ำมันสลัดนอกจากจะช่วยขจัดคราบสกปรกแล้ว ยังช่วยให้หนังคงสภาพเดิมได้ด้วย.
7. บรรเทาอาการปวดฟัน ใช้ใบกระเพราขยี้กับเกลือ อุดไปที่รูฟันที่ปวดสักพักอาการปวดก็จะทุเลาลงเอง.
8. บรรเทาอาการปวดจากแตนต่อย แค่ใช้แอมโมเนียชุบสำลีแปะลงไปที่ถูกแตนต่อยก็หายปวดแล้ว.
9. หุงข้าวแล้วข้าวแฉะ แก้ปัญหาโดยใส่ขนมปังปอนด์สัก 2-3 แผ่น ลงไปในหม้อ ปิดผาหม้อให้แน่นแล้วกดไฟ ไม่นานข้าวก็จะสวยขึ้นมาได้ เพราะขนมปังจะช่วยดูดน้ำเอาไว้.
10. แก้ปัญหาเล็บเหลือง ใช้มะนาวครึ่งลูกบีบไว้ในน้ำอุ่น แล้วจุ่มมือลงไปแช่สักพัก เล็บของคุณก็จะกลับมาขาวได้.
11. ลับกรรไกรให้คม ด้วยการเอากรรไกรอันที่ไม่คมนั้นมาตัดกับเข็มโครเชท์ โดยค่อยๆ ตัดให้เข็มอันไม่คมนั้นกลิ้งไปจนสุดปลายกรรไกร ทำซ้ำสัก 4-5 ครั้ง.
12. ดูแลกาแฟผงไม่ให้จับเป็นก้อน เอาน้ำตาลปอนด์ก้อนขาวๆ ใส่ลงไปสัก 2 ก้อน.
13. ทำความสะอาดห้องน้ำกระเบื้อง ราดด้วยน้ำให้ทั่วแล้วเอาเกลือแกงโรยลงบนแปรงขัดห้องน้ำ หรืออาจจะโรยเกลือที่ผ้าเปียกน้ำ แล้วขัดพื้นให้ทั่ว.
14. ขจัดกลิ่นส้วม ใช้น้ำมันก๊าดประมาณ 1 ขวดมาเทราดลงไปในคอห่าน แล้วเทน้ำตามลงไปเพื่อขจัดกลิ่นน้ำมันก๊าดให้หมด น้ำมันก็าดจะช่วยขจัดกลิ่นส้วมให้หมดไปด้วย.
15. ป้องกันสัตว์เลื้ยงกัดแกะเครื่องเรือน โดยใช้น้ำมันยูคาลิปตัส หรือน้ำมันที่มีกลิ่นฉุนมาทา.
16. ป้องกันหมา แมว ให้ฉี่เป็นที่เป็นทาง โรยพริกไทยป่นลงบนที่มันเคยฉี่ การโรยพริกไทยจะทำให้กลิ่นเดิมของมันหายไป มันจะไม่กลับมาฉี่หรืออุจจาระในที่นั้นอีก.
17. วิธีเก็บสายยาง หายางรถยนต์เก่าๆ ที่ไม่ใช้ทำเป็นที่เก็บสายยาง โดยนำสายยางยาวๆ ม้วนสอดเข้าไปในยางรถยนต์ เพื่อป้องกันแสงแดด และโยกย้ายง่ายด้วยการกลิ้งไป.
18. ขจัดสนิมเกาะเตารีด เอาผ้าห่อขี้ผึ้งหรือเทียนไขไว้ผืนหนึ่ง อีกผืนหนึ่งโรยเกลือป่นไว้บนผ้า จากนั้นเปิดเตารีดให้ร้อน รีดทับลงบนห่อขี้ผึ้งหรือเทียนไขก่อน ต่อมาจึงรีดบนผ้าโรยเกลือ ทำหลายๆ เที่ยวสนิมก็จะหมดไป.
19. ขจัดรอยไหม้ของเสื้อผ้าที่โดนเตารีด ใช้หัวหอมผ่าครึ่งถูตรงรอยไหม้ แล้วใช้น้ำเช็ดอีกครั้ง เพราะว่าหัวหอมมีสารละลายทำให้กัดรอยไหม้ที่อยู่บนผ้าจางหายไป และยังไม่ทำให้ผ้าเปื่อยขาดอีกด้วย.
20. เคล็ดลับย่างเนื้อเตาถ่าน ใช้เกลือโรยไฟให้ทั่วขณะไฟติด เกลือจะทำให้ไฟติดได้ง่ายเร็วโดยไม่ต้องพัดให้เปลืองแรง อีกทั้งถ่านจะมอดดับอย่างช้าๆ เป็นการประหยัดถ่านด้วย.
21. วิธีทำไม่ให้ถุงน่องรัน นำถุงน่องใหม่ไปแช่น้ำเสียก่อน แล้วนำไปแช่ไว้ในช่องทำน้ำแข็งในตู้เย็น รอจนเป็นน้ำแข็ง จากนั้นเอาออกมาแช่น้ำจนน้ำแข็งละลาย นำไปตากแดดจนแห้ง ถุงน่องเป็นผ้าลื่นเมื่อนำไปแช่แข็งจะทำให้เนื้อผ้าเกาะกันเหนียวแน่นขึ้น ใช้งานแล้วไม่รันง่าย.
22. เก็บรักษาเสื้อไหมพรม ซักให้สะอาดนำไปวางบนผ้าขนหนูบางๆ แล้วพันผ้าขนหนูโดยให้ไหมพรมอยู่ด้านใน.
23. แก้ปัญหาหม้อหุงข้าวไฟฟ้าใบใหม่ที่ข้าวติดก้นหม้อ นำหม้อในใหม่มาแช่น้ำสักครู่ ประมาณ 5-10 นาที ไม่ควรแช่นานกว่านี้ จากนั้นใช้ฟองน้ำขัดหม้อเบาๆ .
24. แก้ปัญหากะทะใหม่ ที่มักประสบปัญหาทอดอาหารแล้วติดกะทะ ก่อนนำกะทะมาใช้ให้เทน้ำส้มสายชูผสมกับน้ำเท่าๆ กัน ลงในกะทะ และนำไปตั้งไฟรอจนเดือด แล้วเทน้ำส้มสายชูทิ้ง ใช้น้ำสะอาดล้างอีกที จากนั้นก็ใชงานตามปกติ.
25. ทำคุกกี้ไม่ให้แตกละเอียดง่าย นำข้าวโพดคั่วที่ยังไม่ได้คลุกเกลือมาวางรองบนพื้นกล่อง และวางบนคุกกี้.
26. ปอกแอปเปิ้ลไม่ให้ดำ ให้นำแอปเปิ้ลที่ปอกเปลือกแล้วมาล้างในน้ำผสมน้ำมะนาว.
27. เก็บกล้วยน้ำหว้าไว้ให้นาน ๆ หาภาชนะใส่น้ำต้มให้เดือดนำกล้วยน้ำว้าลงไปแช่ประมาณ 3 นาที และนำไปแขวนในที่ที่มีลมโกรก น้ำเดือดจะฆ่าพวกเชื้อแบคทีเรียที่จะทำให้กล้วยเสียเร็วและอยู่ได้ 10 วัน.
28. เก็บเนื้อสดข้ามคืนโดยไม่ต้องใช้ตู้เย็น ให้เอาเนื้อทั้งก้อนไปจุ่มลงในน้ำเดือดแล้วแขวนไว้ แบคทีเรียบางส่วนในเนื้อนั้นจะถูกฆ่าตายไปทำให้เนื้อไม่เน่าเสีย.
29. ลดน้ำเปรี้ยวของสับปะรด นำมะนาวเปลือกเขียวมาบีบลงบนสับปะรด แล้วโรยเกลือป่นไว้ให้ทั่ว ทิ้งไว้ 20 นาที แล้วล้างออกด้วยน้ำสะอาดอย่างเบามือ.
30. ลดความเค็มของผักดอง นำเหล้าที่แช่เย็นมาผสมกับน้ำในอัตราส่วนที่เท่ากัน หั่นผักดองที่เค็มเกินไปแช่ไว้สักครู่ ความเค็มของผักก็จะลดหายไป.
31. ย่างปลาไม่ให้ติดตะแกง นำน้ำส้มสายชูมาทาให้ทั่วตะแกรงก่อนย่างปลา เวลาปลาสุกจะไม่ติด และทำความสะอาดตะแกรงง่าย.
32. วิธีทำให้กุ้งที่แช่เย็นไว้นานๆให้สดอยู่เสมอ ปอกเปลือกกุ้ง และผ่าหลังให้เรียบร้อย นำไปแช่เบียร์ประมาณ 15-20 นาที แล้วจึงนำไปประกอบอาหาร รับรองได้ว่าไม่ผิดหวัง.
33. ขจัดคาวปลาหมึก ใช้น้ำส้มสายชูแกว่งกับน้ำ นำปลาหมึกมาแช่ไว้ 5-10 นาที กลิ่นคาวปลาหมึกจะหมดไป.
34. ป้องกันไม่ให้หัวปลีดำ ต้องแช่หัวปลีลงในน้ำส้มสายชูทิ้งไว้ 15 นาที แล้วล้างน้ำสะอาดอีกครั้ง.
35. รักษารองเท้าให้ดูใหม่เสมอ นำถุงเท้าเก่าๆ ที่ไม่ใช้แล้ว นำไปซักให้สะอาด ตากลมให้แห้งสนิท จากนั้นนำรองเท้าไปใส่ในถุงนั้น เมื่อเปิดมาใช้รองเท้าจะใหม่อยู่เสมอ.
36. ขจัดเศษทิชชูที่ติดตามเสื้อผ้า .ใช้ลูกเทนนิสถูแรงๆ ตรงที่มีกระดาษทิชชู่ติดอยู่ สักหลาดจากลูกเทนนิสจะทำให้เสื้อผ้าคุณสะอาดได้.
37. ป้องกันแมลงตอมถังขยะ หยดแอมโมเนียลงข้างถังขยะ และในถังขยะสัก 4-5 หยด กลิ่นของมันจะทำให้มด แมลงวะน หรือสัตว์เลี้ยงไม่กล้าเข้าใกล้ถังขยะอีกเลย.
38. ขจัดเศษอาหารปากท่อ นำเกลือแกงใส่ลงไปในท่อ 2-3 ช้อน จากนั้นให้นำเบกกิ้งโซดา หรือผงฟูต้มน้ำให้เดือดแล้วเทลงไปไขมันที่อุดตันก็จะหลุดออกไป.
39. ขจัดกลิ่นเหม็นที่กระติกน้ำแข็ง ผสมเบกกิ้งโซดากับน้ำร้อนและนำมาล้างถูกระติกให้ทั่ว ล้างน้ำอีกครั้งด้วยน้ำสะอาดกลิ่นสาปก็จะหายไป.
38. ดูแลรักษาเครื่องดูดฝุ่น นำการบูรหรือลูกเหม็นใส่เข้าไปในถุงดูดฝุ่นสัก 1 ก้อน จะช่วยกันแมลงแล้วยังป้องกันกลิ่นอับได้อีกต่างหาก.
39. ขจัดกลิ่นอับในตู้กับข้าว ใช้ปูนขาวเล็กน้อยใส่ชามใบย่อมไปวางมุมใดมุมหนึ่งของตู้กับข้าว ทิ้งไว้ประมาณ 3-4 วัน กลิ่นอับชื้นก็จะค่อยๆจางหายไป.
40. กำจัดเหา ใช้ใบน้อยหน่าบดให้ละเอียด คั่นเอาน้ำมาหมักกับผมประมาณ 30 นาที แล้วล้างออกด้วยแชมพูสระผม เหาก็จะหายหมดไป แต่ต้องทำอย่างต่อเนื่อง 4-5 ครั้ง ถึงจะได้ผล.
41. ป้องกันฝุ่นจับดอกไม้ประดิษฐ์ นำไปอังกับไอน้ำเดือด ไอน้ำเดือดจะช่วยขจัดฝุ่นและคราบดำออกไป ทำให้ดอกไม้ประดิษฐ์ดูสะอาดอยู่เสมอ.
42. ปลูกมะลิให้ออกดอกสะพรั่ง เด็ดใบออกมากๆ และรดน้ำตอนที่แดดกำลังร้อนๆ เพราะต้นมะลิจะนึกว่าตัวเองไม่มีใบต่อไปจะต้องตายจึงรีบออกดอกให้ทันก่อนตาย และต้นมะลิจะชอบให้เรารดน้ำตอนแดดกำลังส่องไปที่ต้นของมัน.
43. ทำความสะอาดเครื่องแก้วโดยไม่ต้องเช็ด ใช้น้ำผมสแอลกอฮอล์ล้าง จะช่วยล้างสิ่งสกปรกออกได้ง่าย ข้อสำคัญจะแห้งได้เอง โดยไม่ต้องเช็ดด้วยผ้าอีกด้วย.
44. ดับไฟขณะลุกท่วมกะทะ ใช้ฝาโอ่ง หรือฝาหม้อครอบ (อย่าใช้ลมเป่าเด็ดขาด)
45. ป้องกันรูขวดพริกไทป่นอุดตัน ใส่เม็ดพริกไทยที่เป็นเม็ดๆ เล็กน้อยลงไปในขวดพริกไทยป่น.
46. รักษาไม้กวาดดอกหญ้าให้คงทน จุ่มไม้กวาดดอกหญ้า(ซื้อใหม่)ในน้ำเกลือร้อนๆ จะทำให้ขนของไม้กวาดดอกหญ้าเกาะตัวกัน เวลาใช้จะทนทานไม่ขาดง่าย.
47. ขจัดกลิ่นคาวปลาในตู้เย็น ใช้ผงกาแฟโรยบนปลาซักกำมือก็จะช่วยดับกลิ่นคาวปลาที่นำไปแช่ในตู้เย็นได้.
48. แก้ปัญหาก้างติดคอ ใช้น้ำมะนาวบีบใส่ลงไปในคอ น้ำมะนาวจะทำให้ก้างอ่อนตัวลงทำให้กลืนลงคอได้ง่าย.
49. แก้รองเท้ากัด ใช้ค้อนทุบรองเท้าบริเวณที่กัดจนนิ่ม เพราะรองเท้ากัดมีสาเหตุมาจากบริเวณหนังส่วนนั้นแข็งเกินไป.
50. ขจัดกลิ่นกระเป๋าหนังที่ซื้อใหม่ นำผ้าขาวห่อใบชา และกระเป๋าเข้าด้วยกัน ใบชาสามารถดูดกลิ่นเหม็นของหนังได้.
51. ขจัดกลิ่นคลอรีนในน้ำประปา ฝานมะนาวบางๆ ลงไปในน้ำ มะนาวจะช่วยดูดกลิ่นคลอรีนให้หมดไปได้.
52. วิธีขจัดต้นหญ้า ใช้เกลือโรยตรงที่หญ้าขึ้น เพราะว่าเกลือนั้นจะทำให้ดินตรงที่นั้นเค็ม.
53. ป้องกันยุงไข่ในแท้งค์น้ำ ให้หาอิฐแดงๆ ที่ใช้ก่อสร้างใส่ลงไปในแท้งค์น้ำ ที่นี้แท้งค์น้ำก็จะไม่มีลูกน้ำอีกเลย.
54. ทอดให้กรอบ ต้องละลายแป้งทิ้งไวประมาณ 5-10 นาที ก่อนนำไปทอด .
55. เคล็ดลับการทอดไข่เจียว โรยเกลือป่นเล็กน้อยบนน้ำมันในกะทะ.
56. ทอดไก่ให้สุกทั้งตัว ก่อนจะนำไก่ลงทอด ให้ใช้ช้อนส้อมจิ้มเป็นรูให้ทั่วเสียก่อน แล้วทอดไฟอ่อนๆ.
57. ต้มผักให้หน้ารับประทาน ขณะต้มผักให้เติมเกลือเล็กน้อยจะทำให้ผักมีสีเขียวกว่าเดิม.
58. เผามันเทศให้น่ารับประทาน ให้นำมันเทศแช่ในน้ำร้อนเสียก่อน จึงค่อยนำไปเผาบนเตาไฟที่ไม่ร้อนจัดนัก.
59. วิธีเลือกซื้อมะนาว มะนาวเปลือกเหลืองไม่เหี่ยวมีน้ำมาก เหมาะสำหรับทำน้ำจิ้ม ถ้ามะนาวผิวเขียวสดเหมาะสำหรับทำต้มยำ ตำน้ำพริก.
60. วิธีเลือกซื้อน้อยหน่า ควรเลือกซื้อผลใหญ่ๆ ตาห่างมากๆ ผิวมีสีนวลๆ สีเขียวอ่อนลง.
61. วิธีเลือกซื้อสับปะรด ให้ได้สับปะรดเนื้อดี หวานฉ่ำ เมื่อดีดแล้ว เสียงจะดังแปะ ๆ จึงจะใช้ได้ ถ้าเป็นเสียงโป๊ก ๆ ก็ไม่ควรซื้อ สับปะรดที่หวานฉ่ำเวลาที่ดีดจะมีกลิ่นหอมมาก กว่าสับปะรดที่ไม่ฉ่ำ
62. เลือกซื้อปูสดให้ได้เนื้อแน่น ปูทะเลสดจะต้องสีเข้ม ก้ามโตสีแดงเรื่อๆ เปลือกบาง ลองกดตรงกลางที่มีฝาปิดดู ถ้ากดไม่ลง แสดงว่าปูสดที่มีเนื้อแน่น.
63. ต้มน้ำซุปไม่ให้มีไขมันลอยหน้า ใส่ผักกาดหอมลงในหม้อซุปสัก 2-3 ใบ.
64. ขจัดกลิ่นสีห้องใหม่ ผสมน้ำวานิลา 1 ช้อนชา ต่อสี 1 แกลลอน คนให้เข้ากันจากนั้นก็นำไปทาได้เลย.
65. เอาแมลงออกจากหูโดยง่าย ผักกาดหอมเมื่อคั้นเอาน้ำกรอกใส่หูที่แมลงเข้า แมลงจะทนไม่ไหวคลานออกมาเอง.
66. เคล็ดลับปอกหัวหอมไม่ให้น้ำตาไหล ก่อนปอกหอม หั่นหอม ทุบหอม ให้เอาไม้ขีดไฟที่ยังไม่ได้จุดสัก 2-3 ก้าน คาบไว้ให้หัวไม้ขีดโผล่ออกจากปากแล้วก็ลงมือได้เลย.
67. เคล็ดลับทำไข่ตุ๋น การจะทำให้เนื้อไข่ตุ๋นเป็นเนื้อเดียวกันต้องใช้น้ำข้าวที่เราหุงผสมลงไปแทนน้ำ เนื้อไข่จะเป็นเนื้อเดียวกันทานอร่อยมาก แต่ต้องจำไว้ว่าใช้น้ำข้าวไม่ใช่น้ำซาวข้าว.
68. เลือกซื้อรองเท้าเวลาไหนดี เลือกตอนบ่ายอากาศอุ่นจัด เพราะใช้งานเท้ามามากทั้งวันแล้ว น้ำหนักตัวจะกดเท้าให้ขยายเต็มที่ คุณจะได้รองเท้าที่ใส่สบายกว่าซื้อในตอนเช้า.
69. ดับกลิ่นขยะ ใส่เปลือกมะนาวลงในถังขยะ.
70. ดับกลิ่นทุเรียน กินมังคุดตามเข้าไป.
71. หุงข้าวสวยให้เป็นปุย ใส่น้ำมะนาว หรือ น้ำส้มสายชู ลงในหม้อข้าวขณะหุง เมื่อข้าวสุกจะไม่เหนียวติดกัน.
72. ทอดอาหารไม่ให้น้ำมันกระเด็น โรยเกลือป่นลงในกะทะเล็กน้อย.
73. ทอดอาหารไม่ให้อมน้ำมัน เติมน้ำส้มสายชูลงไปในน้ำมันเล็กน้อย.
74. ย่างเนื้อให้นุ่ม ให้ใส่มะเขือเทศสัก 2-3 ชิ้นกับเนื้อย่างหมักเข้าด้วยกัน.
75. เทซอสมะเขือเทศง่ายๆ เอาหลอดพลาสติกใส่ลงไปจนถึงก้นขวด พอเทซอสก็จะไหลออกมาง่ายตามต้องการ.
76. ขจัดไขมันออกจากไก่ย่าง ให้เอาไก่ใส่ถุงสีน้ำตาล 2 ชั้น ปิดปากถุงให้แน่น ให้อบความร้อนไว้ในถุงสักพัก.
77. ใช้เตาแก๊สให้ประหยัด ควรปรับไฟเวลาจุดเตาให้เป็นสีน้ำเงิน.
78. การใช้หม้อดินให้นานๆ เมื่อซื้อมาแล้วควรนำหม้อดินไปแช่น้ำไว้สัก 1 คืน ก่อนนำมาใช้.
79. วิธีทำเครื่องแกงด้วยเครื่องปั่น ให้เติมน้ำพอท่วมเครื่องแกง แล้วจึงใช้เครื่องปั่น.
80. โขลกน้ำพริกให้ละเอียด ต้องโขลกพริกที่แช่น้ำกับเกลือก่อน แล้วใส่หอมแดงกับกระเทียมที่หลัง.
81. ดับกลิ่นกระปิที่ติดมือ เอามือไปขยำเมล็ดข้าวสารในถัง ขยำ 2-3 ครั้งกลิ่นก็จะหายไปเอง.
82. แก้กลิ่นสาปไก่และเป็ด นำไปแช่ในน้ำผสมเบคกิ้งโซดา แล้วนำไปแช่ตู้เย็นทิ้งไว้ ประมาณครึ่งชั่วโมง.
83. ผลไม้รักษา โรคตับอักเสบและดีซ่าน ใช้รากองุ่นสด 30-90 กรัมต้มน้ำรับประทาน.
84. วิธีรักษาโรคบิด ใช้ใบฝรั่งรับประทาน.
85. รักษาภาพโปสเตอร์ ใช้ยาขัดรองเท้าชนิดที่ไม่มีสี เช็ดภาพโปสเตอร์ก่อนที่จะนำมาติดโชว์.
86. วิธีรักษาโลหะไม่ให้ผุกร่อน ให้ใช้วาสลินทาผิวของโลหะทุกครั้งที่ใช้ และนำมาทำความสะอาด จะทำให้ทำความสะอาดได้ง่ายและเช็ดแห้งเร็ว.
87. วิธีแก้หัวเทียนบอด ใช้น้ำมันละหุ่งแดงละลายผสมในน้ำมันรถ.
88. ขจัดรอยไหม้ในกะทะ นำกะทะตั้งไฟ ใส่น้ำลงไปเล็กน้อย แล้วเอาหัวหอมทุบพอแตก 3-4 หัวต้มจนเปื่อย จากนั้นนำกะทะไปล้างตามวิธีปรกติ.
89. ต้มถั่วแดงไม่ให้แข็งกระด้าง ต้มให้เปื่อยเสียก่อนแล้วจึงนำไปต้ม.
90. ต้มเป็ดพะโล้ให้เนื้อนุ่ม ให้ใส่น้ำแข็งขณะต้ม โดยใส่ทุกระยะที่น้ำเป็ดพะโล้เดือด
91. วิธีทำความสะอาดเครื่องเคลือบทองเหลือง ให้นำหัวหอมต้มในน้ำจนเดือด แล้วใช้หัวหอมขัดเครื่องเคลือบนั้น สิ่งสกปรกที่ติดค้างจะหลุดออกไป.
92. ขอดเกล็ดปลาด้วยวิธีง่ายๆ นำปลาไปแช่ในน้ำเดือดพล่านประมาณ 1 นาที รอจนปลาแห้ง จะดึงเกล็ดปลาออกเป็นแผ่นๆ ได้โดยง่าย เนื้อปลาจะไม่หลุดติดเกล็ดออกมาเลย.
93. ขูดปลาไหลโดยไม่ต้องใช้ใบข่อย เอามือจุ่มน้ำ แล้วไปกำขี้เถ้านำมารูดปลาไหลไม่กี่ครั้ง ก็จะหมดเมือกไปในที่สุด.
94. แก้ปัญหาข้าวสุกๆดิบๆ ละลายน้ำเกลือแล้วพรมลงบนฝาหม้อ โดยต้องปิดฝาหม้อให้สนิทสัก10-15 นาที.
95. ยำปลาหมึกให้อร่อย นำปลาหมึกสดๆ มาหั่นแล้วล้างให้สะอาด จึงนำมาคลุกกับแป้งมันสำปะหลังให้ทั่ว ทิ้งไว้ 5 นาที นำไปล้างออก แล้วจึงนำไปลวกในน้ำเดือด ตักใส่จานปรุงรสตามชอบ.
96. ต้มไข่ไม่ให้เปลือกแตก ให้ใส่เข็มหมุดสัก 2-3 ตัว ลงในน้ำที่ใช้ต้มไข่จะทำให้ไข่ไม่แตก.
97. ไขกุญแจให้ออกง่าย ให้หาผงดินสอดำใส่เข้าไปในรูกุญแจนั้น ผงดินสอดำจะช่วยให้ไขออกง่าย.
98. ต้มปลาให้ก้างอ่อนยุ่ย ให้นำอ้อยมาปอกเปลือกตัดเป็นเสี้ยวๆ วางลงในหม้อที่ต้มปลา และนำปลามาวางทับ เติมน้ำพอประมาณตั้งไฟสัก 40 นาที ปลาจะมีเนื้อแข็ง และก้างจะอ่อนยุ่ย.
99. อบเป็ดให้อร่อย ก่อนนำเป็ดเข้าอบให้ใช้ส้มผ่าครึ่งซีก ทาให้ทั่วตัวเป็ด แล้วนำไปอบ เป็ดจะนุ่มน่ากิน.
100. ล้างแก้วเจียรนัยให้สะอาด ให้นำเปลือกมันฝรั่งไปใส่ในแก้วเจียรนัยหรือแจกันที่มีคราบสกปรก แช่น้ำทิ้งไว้ 2-3 ชั่วโมง แล้วล้างด้วยน้ำธรรมดาจะสะอาดหมดจด.
101. ขจัดรอยจีบกระโปรง ใช้ฟองน้ำชุบน้ำส้มสายชู ทาตรงรอยจีบให้ทั่ว แล้วใช้ผ้าบางๆ ทาบรีดด้วยเตารีดอุ่นๆ รอยจีบกระโปรงหรือรอยเลาะตรงขากางเกงจะเรียบหายไปตามต้องการ.
102. วิธีรักษาเครื่องซักผ้า ให้ใช้น้ำอุ่นพอประมาณ ผสมน้ำสมสายชูสักครึงลิตรใส่ลงไปในเครื่องซักผ้า เปิดสวิตซ์ทำงานปกติ น้ำส้มสายชูจะช่วยไล่คราบฝุ่นออกจากตัเครื่อง และป้องกันการอุดตันได้ด้วย.
103. ทำน้ำเชื่อมให้ดูน่ารับประทาน ใส่เปลือกไข่ที่ขยี้ให้ละเอียดลงไปสัก 2-3 ฟอง ขณะเคี่ยวน้ำเชื่อม ตั้งทิ้งไว้จนมีฟองสกปรกขึ้นมา ช้อนฟองออกเคี่ยวต่อไปจนฟองสกปรกหมดจึงกรองด้วยผ้าขาวบาง.
104. ทำวุ้นให้ใสแวววาว ต้มน้ำวุ้นให้เดือดได้ที่ก่อน แล้วจึงเติมน้ำตาล ปิดไฟทันที และคนให้ละลาย การเคี่ยวน้ำตาลนานๆ จะทำให้ได้วุ้นมีสีขุ่นไม่ใสแวววาว.
105. วิธีกำจัดมดในครัว ใช้น้ำส้มสายชูเช็ดตรงทางเดินมด มดจะไม่เดินมาบริเวณที่เราเช็ดด้วยน้ำส้มสายชูไว้.
106. ลวกลูกชิ้นปลาที่เก่าและเหม็นคาวให้อร่อย ลูกชิ้นปลาที่แช่ตู้เย็นไว้นานๆแล้วมีกลิ่นเหม็นคาว ให้ล้างด้วยน้ำผสมกับน้ำส้มสายชู จากนั้นจึงลวกลูกชิ้น แล้วค่อยนำไปประกอบอาหาร.
107. หากทำแกงเผ็ดหรือน้ำซุปแล้วมีรสเค็มเกินไป ให้ฝานมันฝรั่งดิบ ลงไปเคี่ยวต่อจนมันฝรั่งสุก หากเป็นประเภทพะโล้ หรืออาหารตุ๋นที่เค็มไป ควรเติมน้ำส้มสายชูและน้ำตาลลงไปอย่างละ 1 ช้อนชาจะช่วยลดความเค็มลงได้.
108. ป้องกันแมลงรบกวนข้าวสาร ใช้ใบมะกรูดวางไว้บนข้าวสาร หรืออาจจะใส่ผสมปนเปไว้ในข้าวสารเลยก็ได้ ซึ่งหากข้าวสารมีจำนวนมาก ก็ใส่ใบมะกรูดมากหน่อย รับรองจะไม่มีแมลงมารบกวนอีกต่อไป หากข้าวสารยังใช้ไม่หมดแต่ใบมะกรูดที่วางไว้แห้งหรือหมดกลิ่นไปแล้วก็ให้เปลี่ยนใบมะกรูดเสียใหม่ ไม่งั้นเดี๋ยวเจ้าแมลงได้ใจกลับมารบกวนอีก.

ความเป็นมาของโครงการเกษตรทฤษฎีใหม่

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เสด็จพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตแม่โจ้ เมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2538 และทรงมีพระบรมราโชวาท ความตอนหนึ่งว่า “...ทุกวันนี้ แม้ประเทศของเราจะพัฒนาด้านอุตสาหกรรมไปมากแล้วก็ตาม แต่การเกษตรก็มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน จะละเลยทอดทิ้งมิได้ ....ทฤษฎีใหม่เป็นวิธีปฏิบัติอีกแนวทางหนึ่ง ที่คิดค้นขึ้นสำหรับเกษตรกรที่มีที่ดินจำนวนน้อย....ฯลฯ” มหาวิทยาลัยแม่โจ้สนองพระบรมราโชวาทจึงได้ตั้งฐานเรียนรู้เกษตรทฤษฎีใหม่ฯ ขึ้นและแบ่งพื้นที่จำนวน 10 ไร่ออกเป็น 4 ส่วนดังนี้ น้ำ30% นาข้าว30% ไม้ผล30%และที่อยู่อาศัย10%

การดำเนินโครงการเกษตรทฤษฎีใหม่ 1. การปรับพื้นที่ 10 ไร่ ออกเป็นสัดส่วน 4 ส่วนคือ 30:30:30:10 ดังนี้ ส่วนที่หนึ่ง 30 % ของพื้นที่ (1ไร่) : ขุดสระน้ำกว้าง 40 เมตร และยาว 40 เมตร ลึก 2.50 เมตร บรรจุน้ำได้ประมาณ 4,000 ลูกบาศก์เมตร สำหรับเก็บไว้ใช้ตลอดเวลาการเพาะปลูก และใช้เลี้ยงปลา ส่วนที่สอง 30 % ของพื้นที่ (3 ไร่) : ปลูกข้าว โดยใช้ระบบการปลูกพืชหมุนเวียนสลับกับข้าว เช่น พืชไร่(ถั่วเหลือง,งา, ข้าวโพด, ทานตะวัน และคำฝอย) ปลูกพืชทำปุ๋ยพืชสด ปลูกผักและผักสวนครัว ส่วนที่สาม 30 % ของพื้นที่ (3ไร่) : ปลูกมะม่วง,ลำไย,ลิ้นจี่ในระบบชิดเป็นหลักและปลูกผักสวนครัวพืชไร่ระหว่างแปลงไม้ผล ส่วนที่สี่ 10 % ของพื้นที่ (1ไร่) : สร้างบ้าน,โรงผลิตเชื้อจุลินทรีย์,โรงเก็บปุ๋ยหมัก, คอกสัตว์, บ่อก๊าซชีวภาพ และพื้นที่ที่เหลือปลูกพืชผักสวนครัว,พืชสมุนไพร,ไม้ผลและพืชผักริมรั้วไว้บริโภค 2. การผลิตหัวเชื้อจุลินทรีย์และผลิตปุ๋ยหมัก โดยใช้กากน้ำตาลเพื่อทำปุ๋ยหมักและปุ๋ยน้ำชีวภาพจากของเหลือใช้ในครัวเรือน จากสัตว์และจากสวน เช่น มูลสัตว์ เศษกิ่งไม้ ใบไม้ เศษขยะ เศษพืช ผลไม้สุกบางชนิดและยอดพืชเพื่อผลิตฮอร์โมน การทำสารสกัดสมุนไพรไล่แมลงโดยจุลินทรีย์ เพื่อทดแทนการใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมี 3. การทดลองปลูก พืชไร่ ไม้ผล พืชผัก พืชสมุนไพร ไม้ดอกไม้ประดับ ในแปลงนาและระหว่างแปลงไม้ผลในระบบการปลูกพืชตามฤดูกาลโดยการลดต้นทุนการผลิต และลดการใช้สารเคมี 4. การปลูกข้าวหอมมะลิ105 และข้าวหอมแดงเพื่อสีเป็นข้าวกล้องและทดลองปลูกข้าวแบบปลอดภัยจากสารพิษโดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยน้ำชีวภาพ เปรียบเทียบกับไม่ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ นอกจากนี้ปลูกผักและพืชไร่สลับกันในพื้นที่นา 5. การเลี้ยงสัตว์ เช่น การทดลองเลี้ยงสุกรด้วยเศษอาหารและอาหาร, ทดลองเลี้ยงปลานิลแปลงเพศร่วมกับปลาดุกบิ้กอุยใต้คอกไก่และทดลองเลี้ยงไก่สามสายเลือดบนบ่อปลา

วิธีดำเนินงาน 1. ปรับพื้นที่นา 10 ไร่ บริเวณภาควิชาพืชไร่ คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้แบ่งพื้นที่ออกเป็น 4 ส่วนตามหลักเกษตรทฤษฎีใหม่ ตามแนวพระราชดำริ คือ 30 : 30 : 30 : 10 ดังนี้ 1.1 เนื่องจากพื้นที่ในโครงการอยู่ในเขตชลประทานจึงใช้เนื้อที่ 1 ไร่เพื่อขุดสระขนาด 40 X 40 เมตร ลึก 2.50 เมตรเป็นที่เก็บกักน้ำ 1.2 พื้นที่ส่วนที่ 2 ปรับเป็นพื้นที่นาเพื่อปลูกข้าว และปลูกพืชหมุนเวียน เนื้อที่ 3 ไร่ พร้อมทั้งขุดคู รอบพื้นที่เพื่อเลี้ยงปลาในนาข้าว 1.3 พื้นที่ส่วนที่ 3 ปรับพื้นที่เพื่อปลูกไม้ผล ทดลองปลูกมะม่วง, ลำไยและลิ้นจี่ระบบชิดบนเนื้อที่ 3 ไร่ 1.4 พื้นที่ที่เหลือปรับเป็นพื้นที่ก่อสร้างอาคาร คือที่อยู่อาศัย , โรงเก็บปุ๋ยหมัก, โรงเพาะเห็ด,ยุงเก็บ ข้าว(ชั้นบน) และคอกโค+กระบือ(ชั้นล่าง),คอกสุกร(ชั้นบน)และคอกเป็ด(ชั้นล่าง) และโรงเรือนเลี้ยงไก่ สร้างบนสระน้ำเพื่อเลี้ยงไก่และให้เศษอาหารไก่ที่เหลือเป็นอาหารของปลาต่อไปนอกจากนี้ยังมีการเลี้ยงหมูหลุม

วิธีดำเนินงาน(ต่อ) 2.1 ทำการเก็บตัวอย่างดินพื้นที่ 10 ไร่ เพื่อวิเคราะห์คุณภาพของดิน ผลการวิเคราะห์สรุปได้ว่าดินมีค่า ความเป็น กรด - ด่าง เท่ากับ 5 ค่อนข้างเป็นกรด เนื่องจากพื้นที่บริเวณที่ทำการวิจัยเป็นพื้นที่ทำนาและปลูกพืชไร่มาก่อนโดยใช้ปุ๋ยเคมีและสารกำจัดศัตรูพืชมาเป็นเวลามากกว่า 30 ปี และทุกครั้งที่ปลูกพืชมักใช้จอบหมุนพรวนดินทำให้สภาพดินเป็นดินแข็งเกิดดินดาน 2.2. การขุดสระน้ำและปรับพื้นที่ ใช้รถแมคโคร ขุดสระน้ำ 1 ไร่ ขนาดเนื้อที่ของสระน้ำกว้าง 40 เมตร ยาว 40 เมตร ลึก 2.50 เมตร และสูงจากดินเดิม 1.50 เมตร สามารถบรรจุน้ำได้ 5,600 ลูกบาศก์เมตร โดยนำดินชั้นบนถมพื้นที่ปลูกไม้ผล สำหรับดินชั้นล่างถมรอบคันสระ และพื้นที่สร้างอาคารและเรือนโรง คันสระมีขนาดกว้าง 4 เมตรปลูกหญ้าแฝกรอบคันสระเพื่อป้องกันการพังทลาย ปลูกไม้ผล และพืชสมุนไพรรอบคันสระน้ำ 2.3 สำหรับเนื้อที่ปลูกข้าว 3 ไร่ (30 %) ขุดคูรอบพื้นที่นาเพื่อเลี้ยงปลาในนาข้าวสำหรับเนื้อที่อีก 30 % หรือ อีก 3 ไร่ปลูกไม้ผล และเป็นที่อยู่อาศัย พร้อมเรือนโรง และปลูกพืชผักทั่วไป 3 ไร่ (30 %) รวมเนื้อที่ทั้งหมด 10 ไร่ 3.1 สร้างที่อยู่อาศัยขนาดกว้าง 5 เมตรยาว 10 เมตรสูง 3.10 เมตร เป็นอาคาร 2 ชั้นใต้ถุนสูงหลังคามุงด้วยกระเบื้องลอนคู่มี 2 ห้องน้ำ ชั้นบนเป็นที่นอนและที่ทำงาน สำหรับชั้นล่างเป็นที่เตรียมต้นกล้า,แสดงนิทรรศการและฝึกอบรมผู้มาดูงาน 3.2สร้างยุ้งข้าวขนาดกว้าง 4 เมตร ยาว 4 เมตร สูง 3.10 เมตร เป็นอาคาร 2 ชั้นใต้ถุนสูงหลังคามุง ด้วยกระเบื้องลอนคู่ ชั้นบนเก็บข้าว และชั้นล่างเป็นคอกสัตว์(คอกวัวและคอกกระบือ) 3.3 สร้างคอกสุกรขนาดกว้าง 4 เมตร ยาว 4 เมตรเป็นอาคาร 2 ชั้นสูง 1.50 เมตรหลังคามุงด้วย กระเบื้องลอนคู่ชั้นบนสำหรับเลี้ยงสุกร และชั้นล่างเป็นที่เลี้ยงเป็ดไข่ 3.4สร้างโรงเพาะเห็ดขนาดกว้าง 4 เมตร ยาว 4 เมตรสร้างเป็นอาคารชั้นเดียวหลังคามุงด้วยกระเบื้อง ลอนคู่ 3.5 สร้างโรงเรือนทำปุ๋ยหมักขนาดกว้าง 4 เมตรยาว 8 เมตร สร้างเป็นอาคารชั้นเดียวหลังคามุงด้วย หลังคากระเบื้องลอนคู่ 3.6 สร้างโรงเรือนเลี้ยงไก่ขนาดกว้าง 4 เมตร ยาว 6 เมตร เป็นอาคาร 2 ชั้นหลังคามุงด้วยกระเบื้องลอน คู่สร้างริมสระน้ำใช้เสาปูน 6 ต้นตั้งอยู่ในสระเพื่อให้อาคารห่างจากพื้นดินพื้นปูด้วยไม้ระแนงเพื่อให้เศษอาหารและมูลสัตว์ล่วงลงในสระน้ำเป็นอาหารปลา 3.7 สร้างเรือนโรงผักกางมุ้งเป็นเสาปูนและโครงเหล็กมี 1 โรง ขนาดกว้าง 10 เมตรยาว 40 เมตรสูง 2.50 เมตรมุงด้วยมุ้งตาข่ายสีขาวขนาด 16 ช่องต่อตารางนิ้วคลุมรอบทุกด้านพร้อมด้วยหลังคาและมีประตูเข้าออก 2 ชั้นเพื่อป้องกันแมลงศัตรูพืช 3.8 สร้างบ่อก๊าซชีวภาพขนาดพื้นที่กว้าง 4 เมตร ยาว 6 เมตรสร้างด้วยอิฐฉาบปูนป้องกันการซึมอย่าง ดี ประกอบด้วยบ่อหมักก๊าซขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 4 เมตร สูง 2 เมตร ประกอบด้วยท่อส่งก๊าซจากบ่อหมักไปยังห้องครัว และมีถังและท่อสำหรับใส่มูลสัตว์ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง1.00 เมตรสูง 0.50 เมตร ลงไปยังถังหมักก๊าซ สำหรับบ่อล้นมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 4 เมตรสูง 1.50 เมตร และมีบ่อพักกากขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1.00 เมตรลึก 2 เมตร เพื่อเก็บกากหลังจากกระบวนการผลิตก๊าซชีวภาพเสร็จสิ้นแล้วของเหลือจากการผลิตก๊าซเป็นปุ๋ยคอกนำไปใช้หมักปุ๋ยอินทรีย์ 3.9 ระบบน้ำ ใช้ระบบการให้น้ำแบบมินิสปริงเกอร์หัวฉีดฝอยรัศมี 2 เมตร ติดตั้งบริเวณแปลงไม้ผลทั้งหมด แปลงผักทั้งในมุ้งและนอกมุ้ง และบริเวณรอบสระพื้นที่ที่ปลูกไม้ผลและสมุนไพรนานาชนิด 3.10 การปลูกไม้ผลบนเนื้อที่ 3 ไร่ (30%) เป็นการปลูกไม้ผลระบบชิดทั้ง 3 ชนิดได้แก่ มะม่วง 5 พันธุ์, ลำไย 3 พันธุ์ และลิ้นจี่ 3 พันธุ์ คือระหว่างแถว 4 เมตร ระหว่างต้น 2, 3 และ4 เมตรตามลำดับ ได้แก่ - มะม่วง 5 พันธุ์ คือพันธุ์โชคอนันต์ 24 ต้น,พันธุ์น้ำดอกไม้เบอร์สี่ 24 ต้น,พันธุ์น้ำดอกไม้สีทอง 30 ต้น, พันธุ์มหาชนก 18 ต้น และพันธุ์มะม่วงแก้ว(แก้วจุก) 30 ต้น รวม 126 ต้น - ลำไย 3 พันธุ์ คือพันธุ์อีดอ 42 ต้น,พันธุ์เพชรสาคร 48 ต้น และพันธุ์สีชมพู 36 ต้น รวม 126 ต้น - ลิ้นจี่ 3 พันธุ์ คือ พันธุ์ฮงฮวย 48 ต้น พันธุ์จักรพรรดิ 48 ต้น และพันธุ์ค่อม 30 ต้น รวม 126 ต้น สำหรับไม้ผลอื่นๆ ได้แก่ มะพร้าว มะกรูด มะนาว มะกอกน้ำ มะปราง มะยงชิด มะม่วงพันธุ์ บุญบันดาล ฝรั่ง ชมพู่ มะละกอ ต้นยอ ทุเรียนนางแล แคบ้าน ส้มโอ อ้อย และพืชสมุนไพร 4.1 การเตรียมหัวเชื้อจุลินทรีย์,ปุ๋ยน้ำชีวภาพ สารสกัดสมุนไพร และปุ๋ยหมักอินทรีย์ชีวภาพ จากการทดลองทำหัวเชื้อจุลินทรีย์ใช้เองเพื่อใช้กับการทำปุ๋ยหมัก และปุ๋ยน้ำชีวภาพโดยเก็บตัวอย่างจากพืชหลายชนิดและของเหลือจากสัตว์ พบว่าการใช้ของเหลือจากการเกษตรโดยเฉพาะพืชและสัตว์แม้แต่ของเหลือที่จะเกิดขึ้นจากการใช้ชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์ที่เป็นขยะเช่นเปลือกสับปะรดเศษผักต่างๆซึ่งหาง่าย ราคาถูกไม่ก่อมลพิษกับสิ่งแวดล้อม

การผลิตปุ๋ยน้ำชีวภาพโดยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เชื้อจุลินทรีย์เป็นสิ่งที่มีชีวิตมานานนับเป็นพันล้านปี นับจากจุดเริ่มต้นของสิ่งมีชีวิตเล็กๆที่มองด้วยตาเปล่าไม่เห็นเกิดขึ้นบนโลก จุลินทรีย์มีทุกแหล่งในโลกจะมีมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับสภาพสิ่งแวดล้อม (อากาศ อุณหภูมิ ความชื้น) แหล่งอาหาร ความเป็นกรดเป็นด่าง แม้แต่ความมากน้อยของสารเคมี ถ้าสารเคมีที่เป็นปฏิปักษ์กับจุลินทรีย์ที่ให้ประโยชน์มีมากกว่าก็แสดงว่าจุลินทรีย์ที่เป็นโทษมีปริมาณมาก ทำให้ของสิ่งนั้นเสียและมีกลิ่นเหม็น โดยทั่วไปเราคงทราบแล้วว่าสัตว์เล็ก สัตว์ใหญ่ กุ้ง หอย ปู ปลาแม้แต่มนุษย์ และพืชมีจุลินทรีย์อยู่ในตัวเอง มีมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆดังที่กล่าวมาแล้ว จุลินทรีย์แต่ละตัวจะทำหน้าที่ต่างกัน เช่นจุลินทรีย์ใน วัว ควาย ม้า ช้าง จะทำหน้าที่ย่อยหญ้า หรืออาหารที่มันกินให้เป็นโปรตีน ธาตุอาหาร ไวตามินและพลังงาน เพื่อการเจริญเติบโตและการมีชีวิตที่ยืนยาว ดังนั้นจุลินทรีย์จึงเป็นสิ่งมหัศจรรย์ที่มีประโยชน์อย่างมหาศาลที่เรามองไม่เห็นได้ด้วยตาเปล่า แต่เห็นได้ด้วยกล้องจุลทรรศน์ แหล่งน้ำ ดิน และอากาศที่สะอาดเป็นแหล่งที่จุลินทรีย์ดีๆเกิดขึ้นมากมาย พบว่าจุลินทรีย์มีทั้งที่ต้องการอากาศ และไม่ต้องการอากาศ และจุลินทรีย์ที่ต้องการอากาศสามารถเจริญเติบโตได้ในสภาพที่ไม่มีอากาศ แม้แต่จุลินทรีย์ที่ไม่ต้องการอากาศก็สามารถอาศัยอยู่ในสภาพที่มีอากาศได้ ดังนั้นจุลินทรีย์ที่ดีๆ จะอยู่ร่วมกัน มีการพึ่งพาอาศัยกัน และขยายพันธุ์เร็วใช้เวลาขยายพันธุ์ประมาณ 3 – 72 ชั่วโมงมีหลายแสนล้านตัว นอกจากนี้พบว่าจุลินทรีย์ที่เลี้ยงในสภาพที่ต้องการอากาศมีความแข็งแรงสูงสามารถสู้กับจุลินทรีย์ที่มีปัญหาได้แต่ต้องใช้อย่างต่อเนื่องเพราะชีวิตของจุลินทรีย์สั้น ถ้าปล่อยไว้นานๆจุลินทรีย์จะเพิ่มปริมาณสู้กับจุลินทรีย์ที่เป็นโทษไม่ได้ จุลินทรีย์ MMO1(Maejo Micro-Organisms : สูตรที่ 1) เป็นจุลินทรีย์ที่คัดแยกจากเชื้อจุลินทรีย์จากธรรมชาติจากป่า จากดิน และจากสิ่งมีชีวิตเพื่อคัดแยกในห้องปฏิบัติการเพื่อคัดแยก จุลินทรีย์ที่ดีมีประโยชน์และเพิ่มปริมาณให้มากเพื่อใช้สำหรับการเกษตรกรรม ทำให้ได้ผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ สาเหตุที่ดำเนินการเช่นนี้เนื่องจากสัตว์ที่กินวัชพืชหรือหญ้าเพียงอย่างเดียวเหตุไรสัตว์จึงเจริญเติบโตและแข็งแรง นอกจากนี้ยังพบว่าสุขภาพสัตว์ที่กินหญ้าอย่างเดียวมีอายุยืนยาวอีกด้วย จากการศึกษาพบว่าในท้องสัตว์มีจุลินทรีย์หลายชนิดที่ทำหน้าดังกล่าว บางครั้งมีผู้บริโภคใช้จุลินทรีย์จากสัตว์เรียกว่าขี้เพลี้ยมาผสมอาหารบริโภคเช่นทางภาคเหนือผสมทำลาบเป็นต้น จึงนำแนวคิดนี้มาคัดแยกจุลินทรีย์เพื่อใช้ในการเกษตรและสิ่งแวดล้อม ได้ผลิตภัณฑ์ที่ปลอดภัยทั้งผู้ใช้ ผู้บริโภค และไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม เป็นจุลินทรีย์ที่ใช้ย่อยอินทรีย์วัตถุให้เป็นธาตุอาหารแก่พืช สร้างภูมิคุ้มกันให้พืช สร้างความเจริญเติบโต ออกดอก ออกผล และกระตุ้นภูมิคุ้มกันโรคพืชทุกชนิด จุลินทรีย์ชีวภาพ MMO1 (Maejo Micro-Organisms)สูตรที่ 1 ประกอบด้วย Saccharomyces cerevisiae MJU 3349 High Lysine,Rhodotorula rubra MJU 1934 High Beta-Carotene,และPhaffia rhodozyma MJU 2003 High Astaxanthin. นอกจากนี้ประกอบด้วยจุลินทรีย์ ดังนี้ Bacillus,Lactobacillus, Aerobacter,Aspergillus,Clostridium,Fusarium,Nitrobacter,Nitrosomonas, Rhizopus,Pediococus การขยายเชื้อจุลินทรีย์ MMO1 ใช้กากน้ำตาล น้ำสะอาด และอาหารเฉพาะ สำหรับ การทำ ปุ๋ยหมักให้ใช้ จุลินทรีย์ MMO1จำนวน 1 ลิตรผสมกับกากน้ำตาล 1 กก. ผสมกับน้ำสะอาด 20 ลิตร และอาหารเฉพาะ 1 ลิตร (เรียกว่าจุลินทรีย์MMO1ขยาย) หมักไว้ 4, 8, 12, 16, 20 และ 24 ชั่วโมง โดยเติมอากาศออกซิเจนตลอดเวลา จากการทดลองนับจำนวนโคโลนีในจุลินทรีย์MMO1ขยายพบว่า รายละเอียดตัวอย่าง ผลการทดสอบ เวลา 4 ชั่วโมง 7.7x109 โคโลนีต่อตัวอย่าง 1 มิลลิลิตร เวลา 8 ชั่วโมง5.7x109 โคโลนีต่อตัวอย่าง 1 มิลลิลิตร เวลา 12 ชั่วโมง7.2x109 โคโลนีต่อตัวอย่าง 1 มิลลิลิตร เวลา 16 ชั่วโมง6.0x109 โคโลนีต่อตัวอย่าง 1 มิลลิลิตร เวลา 20 ชั่วโมง8.3x109 โคโลนีต่อตัวอย่าง 1 มิลลิลิตร เวลา 24 ชั่วโมง7.1x1011 โคโลนีต่อตัวอย่าง 1 มิลลิลิตร 5.การทำปุ๋ยหมักอินทรีย์ชีวภาพและการทำปุ๋ยน้ำชีวภาพ 5.1 อุปกรณ์ที่ใช้ในการปุ๋ยหมักอินทรีย์ชีวภาพ 1.เครื่องสับกิ่งไม้ 2.วัสดุการเกษตรที่หาง่าย เช่น ฟางข้าว เศษใบไม้ เศษกิ่งไม้ เศษพืชทุกชนิด และแกลบดิบ 3.มูลสัตว์ เช่น มูลโค มูลกระบือ มูลไก่ และแกลบผสมมูลไก่ 4. หัวเชื้อจุลินทรีย์ MMO 5.กากน้ำตาล 6.รำข้าว 7.พลาสติกดำ 8.เครื่องวัดอุณหภูมิและ 9.น้ำ การทำปุ๋ยหมัก ใช้มูลสัตว์แห้งและหาง่าย หมักกับแกลบดิบหรือแกลบเผา และรำข้าว (รำข้าวเป็นอาหารที่ดีของจุลินทรีย์) เศษกิ่งไม้ ใบไม้สับให้เป็นชิ้นเล็กๆ กิ่งไม้ ใบไม้สับจะถูกจุลินทรีย์ย่อยสลายเร็วกว่าที่ไม่สับ นอกจากนี้ยังใช้กับเศษอาหารในครัวเรือน โดยการสับเศษผัก เปลือกผลไม้ ผสมกับเศษอาหารที่บริโภคเหลือที่ย่อยสลายได้ทั้งหมด ข้อสำคัญต้องแยกเอาน้ำแกง หรือน้ำที่มีไขมันต่างๆออกก่อน วิธีการทำปุ๋ยหมัก ใช้มูลสัตว์โรยเป็นชั้นๆ สลับกับวัสดุรองรับอื่นๆ ปูเป็นชั้นบางๆ หนาประมาณ 1- 3 ซม.ต่อชั้น ได้แก่กิ่งไม้ใบไม้สับรองชั้นล่างหนา 1-2 ซม.ชั้นที่ 2 มูลสัตว์แห้งบดให้ละเอียด ราดด้วยจุลินทรีย์ MMO1ขยายพอชื้น ชั้นที่ 3 โรยรำละเอียด ชั้นที่ 4 โรยแกลบดิบ 1 – 2 ซม.อย่างละ 1:1:1:1:1 ส่วนตามลำดับ กระทำหลายๆชั้นตามที่วัสดุมีอยู่ ให้คลุกผสมกันราดด้วยจุลินทรีย์ MMO1 ขยาย (อัตรา 1 ลิตรต่อกากน้ำตาล 1 กก.ต่อน้ำสะอาด 100 ลิตร) ราดบนกองปุ๋ยหมักทุกๆชั้น เมื่อผสมแล้วให้กองปุ๋ยหมักมีความชื้น 50 - 60 % กลี่ยกองปุ๋ยสูงประมาณ 50 – 60 ซม. คลุมด้วยพลาสติกหรือทางมะพร้าวเพื่อป้องกันแสงแดด หลังจากหมักแล้วจะมีความร้อนเกิดขึ้น ให้กลับกองปุ๋ยเพื่อระบายความร้อน 2 – 3 ครั้ง สังเกตดูกองปุ๋ยมีเชื้อราเกิดขึ้นและกลิ่นหอม กรณีที่มีวัสดุเศษเหลือจากสวน เช่น ใบไม้ กิ่งไม้ เศษฟางข้าว เศษหญ้า เปลือกถั่ว เศษวัสดุชนิดนี้จะย่อยสลายช้า ข้อสำคัญเศษพืชทุกชนิดต้องย่อยให้เป็นชิ้นเล็กๆดีที่สุดเพื่อทุกส่วนของวัสดุสัมผัสกับจุลินทรีย์และกากน้ำตาลมากที่สุด 5.2 การทำปุ๋ยหมักอินทรีย์ และผลการวิเคราะห์ วัสดุที่ใช้ในการทำปุ๋ยหมัก 1. ปุ๋ยคอก (มูลวัว) 200 กิโลกรัม 2. ปุ๋ยมูลไก่ 200 กิโลกรัม 3. รำละเอียด 150 กิโลกรัม 4. แกลบดิบ 50 กิโลกรัม 5. เศษใบไม้บดหรือเศษวัชพืช 100 กิโลกรัม) 6. โดโลไมท์ 100 กิโลกรัม 7. จุลินทรีย์ MMO สูตรที่ 1(ขยาย) จุลินทรีย์ 1 ลิตร กากน้ำตาล 1 กิโลกรัมและน้ำสะอาด100 ลิตร วิธีทำ นำมูลวัว มูลไก่ มาเข้าเครื่องบด แล้วนำวัสดุที่ใช้มาผสมให้เข้ากัน แล้วราดด้วย MMOสูตรที่ 1 (ขยาย) ให้ได้ความชื้น 50-60 % คลุมด้วยกระสอบป่าน กองปุ๋ยหมักจะมีอุณหภูมิร้อนถึง 40-50 องศาเมล็ดวัชพืชที่ติดมากับมูลสัตว์จะถูกทำลาย วันที่ 2 ให้กลับกองปุ๋ยหมัก อุณหภูมิจะลดลง และกลับกองปุ๋ยอีกครั้ง วันที่ 3 - 4 ใช้เวลาในการหมักประมาณ 7-10 วัน การกลับกองปุ๋ยแต่ละครั้งเพื่อลดอุณหภูมิ กองปุ๋ยร้อนเกินไปจุลินทรีย์ที่ดีๆอาจจะตาย แต่อย่างไรก็ตามจุลินทรีย์ในธรรมชาติมีหลายกลุ่มแต่ละกลุ่มสามารถเติบโตและขยายปริมาณได้เสมอ เมื่อความชื้นแตกต่างกันกองปุ๋ยจะมีกลิ่นหอมเมื่อปุ๋ยหมักและจุลินทรีย์ขยายปริมาณมากขึ้น นำไปใช้ในการทดลองปลูกพืช 5.3 การศึกษาอุณหภูมิในกองปุ๋ยจากการทำงานของจุลินทรีย์MMO1 การผลิตปุ๋ยหมักอินทรีย์เพื่อให้เกิดการหมักที่สมบูรณ์ต้องอาศัยการทำงานของจุลินทรีย์ที่มีคุณภาพโดยใช้จุลินทรีย์ที่ต้องการอากาศในการหมัก มีหลักการย่อยสะลายปุ๋ยให้มีคุณภาพต้องอาศัยการทำงานของจุลินทรีย์ในการย่อย จุลินทรีย์นั้นต้องมีประสิทธิภาพ เพื่อให้อัตราส่วนคาร์บอนต่อไนโตรเจนสมดุล การย่อยเศษพืชหรือวัตถุดิบทำปุ๋ยต้องทำให้เป็นชิ้นเล็กที่สุดเพื่อให้จุลินทรีย์ทำงานง่ายหมายถึงทุกส่วนของวัตถุดิบสัมผัสกับจุลินทรีย์มากที่สุดจะทำให้วัตถุดิบย่อยสะลายง่าย ทำการศึกษาวัดอุณหภูมิ 3 เวลาต่อวัน คือ 09.00 น.,12.00 น.และ 15.00 น.จากศึกษาพบว่า วันที่ 1 อุณหภูมิระยะแรกของการหมักเริ่มสูงขึ้น 45 – 52 องศาเซลเซียส วันที่ 2 อุณหภูมิ 40 – 48 องศาเซลเซียส ในวันที่ 2 กลับกองปุ๋ยเพื่อระบายอากาศและวัดอุณหภูมิวันที่ 3 วัดได้ 37 – 45 องศาเซลเซียส วันที่ 4 วัดอุณหภูมิได้ 38 – 42 องศาเซลเซียส กลับกองปุ๋ยครั้งที่ 2 และวัดอุณหภูมิวันที่ 5 วัดได้ 20 – 34 องศาเซลเซียส และวันที่ 6 และ 7 อุณหภูมิลดลง พบว่ากลิ่นหอม ไม่มีกลิ่นมูลสัตว์หรือวัตถุดิบไดๆ แสดงว่าการหมักปุ๋ยได้ที่บางครั้งเรียกว่าฮิวมัส และนำปุ๋ยหมักไปตรวจวิเคราะห์สารอาหารต่อไป ผลการวิเคราะห์ปุ๋ยหมัก -ความเป็นกรดเป็นด่าง (pH) 7.47 -ความชื้น 47.51 % -ไนโตรเจนทั้งหมด 2.08 % -ฟอสฟอรัสทั้งหมด 1.87 % -ฟอสฟอรัสที่มีประโยชน์ 1.69 % -โพแทสเซียมที่ละลายในน้ำ 0.95 % 5.4 การทำปุ๋ยน้ำชีวภาพที่ได้จากสัตว์ วัสดุเหลือใช้ไม่ว่าเศษปลา หัวปลา ไส้ปลา กระดูกปลาหรืออื่นๆ แม้กระทั้งหอยเชอรี่และไข่หอยเชอรี่ประกอบด้วยโปรตีน 20 – 50 % เมื่อผ่านกระบวนการหมักการย่อยสลายด้วยจุลินทรีย์แล้ว จะได้ธาตุอาหารที่หลากหลายประกอบด้วย อาหารหลัก อาหารรองและอาหารเสริม นอกจากนี้ยังพบว่าปุ๋ยน้ำชีวภาพที่ผ่านการหมักยังได้กรดอะมิโนและไนโตรเจนอีกด้วย อุปกรณ์ที่ใช้ในการทำปุ๋ยน้ำชีวภาพ 1.ถังพลาสติกขนาด 100 - 200 ลิตร 2.ถุงปุ๋ย(กระสอบปุ๋ย) 3.วัสดุรองรับหมายถึงวัสดุการเกษตรที่เหลือใช้ทุกชนิด 4.กากน้ำตาล 5.เชื้อจุลินทรีย์ MMO 6.รำข้าว 7.น้ำสะอาด 5.5 การทำปุ๋ยน้ำชีวภาพจากหอยเชอรี่ (ขนาดถังบรรจุ 200 ลิตร) 1.หอยเชอรี่ 10 ส่วน (120 กิโลกรัม) 2.กากน้ำตาล 3 ส่วน (45 กิโลกรัม) 3.เชื้อจุลินทรีย์ MMO1 1 ส่วน (จุลินทรีย์ขยาย 12 ลิตร) 4.รำข้าว 1 ส่วน (12 กิโลกรัม) 5.น้ำสะอาดพอท่วมหอยเชอรี่ (การขยายเชื้อจุลินทรีย์โดยใช้จุลินทรีย์ MMO1:กากน้ำตาล:น้ำสะอาด อัตรา 1:1:20) วิธีทำ 1.นำหอยเชอรี่ล้างน้ำสะอาดให้ใส่เครื่องบดละเอียดใส่ถังขนาดบรรจุ 200 ลิตรพร้อมที่ล็อดปิด ฝาถังสนิท 2.ใส่กากน้ำตาล จุลินทรีย์ขยาย รำข้าวและน้ำสะอาดคนให้ผสมกันเพื่อวัสดุทั้งสัมผัสหอยเชอรี่ทุกส่วน และปิดฝาถังสนิทเพื่อป้องกันจุลินทรีย์จากภายนอก 3.ระหว่างการหมักให้ระวังฝาถังระเบิดเพราะจุลินทรีย์หายใจเกิดก๊าซภายในถังต้องคอยสังเกตเปิด - ปิดเพื่อระบายอากาศและคนเป็นครั้งคราวหมักไว้นาน 3 เดือน หลังจากนั้นแยกน้ำใส่ขวดปิดฝาสนิทส่วนกากทำปุ๋ยหมัก 4.กรณีไม่มีเครื่องบดให้ล้างหอยเชอรี่ให้สะอาดแล้วบรรจุหอยเชอรี่ในถุงปุ๋ยเคมีและทุบให้หอยเชอรี่เป็นชิ้นเล็กๆ แล้วใส่ในถังพลาสติกเติมส่วนผสมตามสูตรดังกล่าวแล้วมัดปากถุงให้แน่นและใช้ก้อนหินหรือของหนักทับถุงปุ๋ยให้จมน้ำ น้ำปุ๋ยชีวภาพที่ออกมาจะได้นำไปใช้ในการทดลอง 5.6 การทำปุ๋ยน้ำชีวภาพจากเศษปลา กระทำเช่นเดียวกับการทำปุ๋ยน้ำชีวภาพจากหอยเชอรี่ 5.7 การทำปุ๋ยน้ำชีวภาพจากพืชหรือของเหลือใช้จากครัวเรือน การเตรียมปุ๋ยน้ำชีวภาพจากพืชหรือของเหลือใช้ โดยใช้พืชหรือของเหลือใช้จากครัวเรือนต่อเชื้อจุลินทรีย์ต่อกากน้ำตาลและน้ำสะอาด อัตราส่วน 3 : 1 : 1 : 5 – 10 หมายถึง ใช้เศษพืชและของเหลือใช้จากครัวเรือน 3 ส่วน : กากน้ำตาล 1 ส่วน : เชื้อจุลินทรีย์ MMO1 ขยาย 1 ส่วน และน้ำสะอาด 5 – 10 ส่วน หรือน้ำพอท่วมพืชและของเหลือใช้นั้นๆ ตัวอย่างเศษพืชหรือของเหลือใช้เช่น เศษหญ้าสนาม ฝักทอง ยอดไมยราบยักษ์ มูลสัตว์ ตะไคร้หอม สะเดา มะกูด และเศษอาหารในครัวเรือน บรรจุในถังพลาสติก และในไหปิดฝาสนิทป้องกันแมลงวัน(แต่พบว่าหนอนที่เกิดจากแมลงวัน ตัวหนอนโตแต่เป็นหมัน) หมักไว้ 7 วัน แล้วแยกน้ำที่ได้ใส่ขวดสะอาดปิดฝาสนิทและนำกากที่เหลือทำปุ๋ยหมักหลังจากนั้นเก็บน้ำปุ๋ยชีวภาพในที่ร่ม 5.8 การเตรียมสารสกัดสมุนไพรเพื่อป้องกันและกำจัดศัตรูพืช การนำสมุนไพรมาเพื่อใช้ในการควบคุมแมลงและโรคพืช เนื่องด้วยสมุนไพรมีรสต่างๆกันเช่นมีรสขม ฝาด เผ็ดร้อน เปรี้ยว มัน หวาน และหอมเย็น นอกจากนี้พบว่าในพืชสมุนไพรเมื่อนำมาสกัดด้วยวิธีที่ต่างกันเช่นหมัก ต้ม สารดังกล่าวเรียกว่าสารพฤกษเคมี(Phytochemical) การเตรียมสารสกัดสมุนไพร มี 4 ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1 การเตรียมหัวเชื้อจุลินทรีย์เข้มข้น 1.1สุราขาวหรือแอลอกฮอล์1 ส่วน(ลิตร) 1.2น้ำส้มสายชู 1 ส่วน(ลิตร) 1.3 จุลินทรีย์MMO1 1 ส่วน(ลิตร) 1.4 กากน้ำตาล 1 ส่วน(ลิตร) 1.5 น้ำสะอาด 10 ส่วน(ลิตร) ผสมกันหมักไว้ 12 วันเพื่อให้จุลินทรีย์ขยายในสารละลายเข้มข้น ขั้นตอนที่ 2 การเตรียมสมุนไพรด้วย วิธีหมัก พืชสมุนไพรที่ใช้สำหรับหมัก เช่น ใบพลู ว่านหางจระเข้ ดีปลี พริกไทย กระเทียม กระชาย มะแขว่น ไพล พริก กานพลู มะคำดีควาย วิธีทำ 1. ชั่งสมุนไพรอย่างละ 2 – 5 กิโลกรัม และล้างสมุนไพรด้วยน้ำให้สะอาด 2. สับหรือปั้นให้ละเอียดประมาณ 50 กิโลกรัม 3. ผสมกับหัวเชื้อจุลินทรีย์เข้มข้น1 ลิตร 4. ผสมน้ำสะอาด 100 ลิตร 5. ปิดฝาสนิทหมักไว้ 1 คืน ขั้นตอนที่ 3 การเตรียมสมุนไพรด้วยวิธีต้ม พืชสมุนไพรที่สำหรับต้ม เช่น สะเดา, น้อยหน่า ขี้เหล็ก ตระไคร้หอม,ข่า, ขิง บอระเพ็ด, หนอนตายหยาก ฟ้าทะลายโจร ว่านสาวหลง ผกากรอง ฟ้าทะลายโจร กระเพราช้าง(ใบจันทร์), สาบเสือ,ยูคาลิบ วิธีทำ 1. ชั่งสมุนไพรอย่างละ 2 – 5 กิโลกรัม และล้างสมุนไพรด้วยน้ำให้สะอาด 2. สับหรือปั้นให้ละเอียดประมาณ 50 กิโลกรัม 3. ใส่ถังขนาด 200 ลิตรที่มีฝาล็อคปิดสนิทแต่ให้มีรูระบายอากาศที่ฝาถัง 4. เติมน้ำสะอาดจนท่วมพืชสมุนไพร 5. ต้มจนเดือดจับเวลาหลังจากน้ำเดือดแล้วประมาณ 2 – 3 ชั่วโมง 6. ดับไฟตั้งทิ้งไว้จนเย็นใช้เวลา 1 คืน ขั้นตอนที่ 4 การหมักสมุนไพรป้องกันและกำจัดศัตรูพืช วิธีทำ โดยนำสารสกัดสมุนไพรจากขั้นตอนที่ 2 และขั้นตอนที่ 3 มาผสมกันและเติมหัวเชื้อจุลินทรีย์เข้มข้นอัตราส่วน 30 ซีซีต่อน้ำสมุนไพรทั้ง 2 ขั้นตอนจำนวน 1 ลิตร (ดังนั้นน้ำทั้งขั้นตอนที่ 2 และขั้นตอนที่ 3 จำนวน 150 ลิตร ใช้หัวเชื้อจุลินทรีย์เข้มข้นจำนวน 4.5 ลิตร) หมักไว้ 7 วันจะได้สารสกัดสมุนไพร(ขั้นตอนที่ 4)เพื่อใช้ในการทดลองแทนการใช้สารเคมีป้องกันและควบคุมศัตรูพืช 5.9 ผลการวิเคราะห์ปริมาณธาตุอาหารในน้ำหมัก จากการวิเคราะห์ปริมาณธาตุอาหารในน้ำหมักชีวภาพจากการทดลองหมักเพื่อใช้ในการวิจัยกับ นาข้าว การปลูกไม้ผล พืชผัก ไม้ตัดดอก และพืชไร่ ตามแผนการทดลอง จากการวิเคราะห์ระดับความเป็นกรดเป็นด่างของน้ำหมักพบว่าน้ำหมักชีวภาพมีระดับความเป็นกรดเป็นด่างต่างกันคือ พบว่าค่อนข้างเป็นกรดซึ่งอยู่ระหว่าง 3.8 - 5.3 ดังตารางที่1 และพบว่าปริมาณไนโตรเจนที่พบว่ามีมากที่สุดคือน้ำหมักยอดไมยราบยักษ์มีธาตุไนโตรเจนสูงถึง 1.47 % รองลงมาคือน้ำหมักเศษปลามีธาตุไนโตรเจน 0.81 % และพบว่าน้ำหมักจากหอยเชอรี่มีธาตุไนโตรเจน 0.48 % สำหรับปริมาณธาตุแอมโมเนียมไนโตรเจนพบว่าน้ำหมักเศษปลามีธาตุแอมโมเนียมไนโตรเจนสูงที่สุดคือ 1,012 ppm รองลงมาคือน้ำหมักหอยเชอรี่มีธาตุแอมโมเนียมไนโตรเจน 924 ppm และพบว่าปริมาณธาตุฟอสฟอรัสมีในน้ำหมักเศษปลามากที่สุดคือ 0.61 % นอกจากนี้พบว่าปริมาณธาตุโปรแตสเซียมมีมากในน้ำหมักเศษปลามากที่สุดคือ 1.10 % รองลงมาคือ น้ำหมักหอยเชอรี่, น้ำหมักฝักทอง, น้ำหมักสับปะรด, น้ำหมักมูลสัตว์, น้ำหมักสะเดา, น้ำหมักยอดไมยราบยักษ์, น้ำหมักหญ้า, น้ำหมักตระไคร้หอม และน้ำหมักมะกรูด เท่ากับ 0.98 %, 0.72 %, 0.68 %, 0.65 %, 0.63 %, 0.58 %, 0.57 %, 0.56 %และ 0.37 % ตามลำดับ ซึ่งทั้งหมดเป็นธาตุอาหารหลักของพืช นอกจากนี้ยังพบว่ามีธาตุอาหารรองได้แก่ธาตุแคลเซียม และแมกนีเซียม โดยธาตุแคลเซียมพบว่ามีมากที่สุดในน้ำหมักเศษปลามีธาตุอาหา 1.20% รองลงมาคือน้ำหมักหอยเชอรี่มีธาตุอาหาร 0.72% สำหรับธาตุแมกนีเซียมพบว่ามีธาตุอาหารมากที่สุดในน้ำหมักเศษปลา คือ 0.20 % และธาตุอาหารเสริมในสารสลายพบว่าน้ำหมักชีวภาพที่ทำการหมักประกอบด้วย ธาตุเหล็ก, แมงกานีส และสังกะสีซึ่งมีปริมาณธาตุอาหารมากน้อยต่างกัน