วันศุกร์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

หาอาชีพอิสระทำ ในยุคสังคมวิกฤต

อาชีพอิสระ หมายถึง อาชีพทุกประเภทที่ผู้ประกอบการดำเนินการด้วยตนเอง แต่เพียงผู้เดียวหรือเป็นกลุ่ม
อาชีพอิสระเป็นอาชีพที่ไม่ต้องใช้คนจำนวน มาก แต่หากมีความจำเป็นอาจมีการจ้างคนอื่นมาช่วยงานได้
เจ้าของกิจการ เป็นผู้ลงทุน และจำหน่ายเอง คิดและตัดสินใจด้วยตนเองทุกเรื่อง ซึ่งช่วยให้การพัฒนางาน
อาชีพ เป็นไปอย่างรวดเร็วทันต่อเหตุการณ์ การประกอบอาชีพอิสระ เช่น ขายอาหาร ขายของชำ ซ่อม
รถจักรยานยนต์ ฯลฯ ในการประกอบอาชีพอิสระ ผู้ประกอบการจะต้องมีความรู้ ความสามารถในเรื่อง การ
บริหาร การจัดการ เช่น การตลาด ทำเลที่ตั้ง เงินทุน การตรวจสอบ และประเมินผล เป็นต้น นอกจากนี้ยังต้อง
มีความอดทนต่องานหนัก ไม่ถ้อถอยต่อ ปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้น มีความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ และมองเห็นภาพ
การ ดำเนินงาน ของตนเองได้ทะลุปรุโปร่ง
อาชีพอิสระ หมายถึง อาชีพที่ประกอบกันเป็นธุรกิจที่ต้องใช้ความรู้หรือทักษะทีjต้องการ การฝึกฝนอบรม
พอสมควร เช่น อาชีพทำของที่ระลึกด้วยวัสดุที่มีในท้องถิ่น การปลูกผัก การเลี้ยงปลา การประกอบอาหารเป็น
ต้น และผู้ประกอบการอิสระ หมายถึง ผู้ประกอบการขนาดย่อมที่เป็นธุรกิจ
อาชีพอิสระ เป็นอาชีพที่สามารถดำเนินการเองได้โดยลงทุนน้อย ใช้ความคิด กำลังกายค่อนข้างมาก เน้น
การพึ่งตนเอง คำว่าอาชีพอิสระมีความหมายคล้ายกันกับอาชีพส่วนตัว ธุรกิจขนาดย่อม การประกอบการขนาด
ย่อม เป็นต้น
อาชีพอิสระหมายถึง ธุรกิจเป็นอิสระ มีเอกชนเป็นเจ้าของ ดำเนินการโดยเจ้าของเอง ไม่เป็นเครื่องมือของ
ธุรกิจ ใด และไม่ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของบุคคลอื่น หรือธุรกิจอื่น
อาชีพอิสระ หมายถึง อาชีพส่วนตัวทั้งในภาคเศรษฐกิจที่เป็นระบบ ( Formal Sector ) และภาคเศรษฐกิจ
ที่ไม่เป็นระบบ ( Informal Sector ) เจ้าของกิจการเป็นผู้ประกอบการเองทั้งหมดหรือบางส่วนก็ได้ โดยได้รับ
ค่า ตอบแทนเป็นรูปของกำไร ไม่ใช่เงินเดือน
อาชีพอิสระ หมายถึง อาชีพที่มีลักษณะ ดังนี้
1. เจ้าของกิจการไม่เป็นลูกจ้าง รับเงินเดือนจากนายจ้าง แต่ได้รับค่าตอบ แทนจากลูกค้า
2. เจ้าของกิจการเป็นผู้ลงมือกระทำเองในฐานะผู้ปฏิบัติงาน
3. มีผู้ช่วยเหลือปฏิบัติงานโดยอาจได้เงินเดือนหรือค่าจ้างเป็นรายชิ้นก็ได้ จำนวนไม่เกิน 5 คน และใช้ทุน
ดำเนินการไม่เกิน 500,000 บาท
อาชีพ อิสระนี้ไม่สามารถแยกจากธุรกิจขนาดย่อมหรือการประกอบการขนาดย่อมได้ชัดเจน เพราะมีความ
คล้ายคลึงและเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน บอมแบ็ค ( Baumback , 1988 ) ให้คำจำกัดความของธุรกิจขนาดย่อม ว่า
เป็นธุรกิจที่เจ้าของเป็น ผู้จัดการธุรกิจด้วยตนเอง มีความเป็นอิสระ ส่วนใหญ่อยู่ในท้องถิ่น และอาศัยแหล่งทุน
ภายในในการขยายกิจการอีกความหมายหนึ่งของธุรกิจขนาด ย่อมที่ได้รับการยอมรับ เป็นความหมายที่ได้รับ
การเสนอแนะโดย The Committee for Economic Develment ( CED ) ของสหรัฐอเมริกา ได้ให้ความหมาย
ของ ธุรกิจขนาดย่อมไว้ว่าเป็นธุรกิจที่มีลักษณะอย่างน้อยที่สุด 2 ประการจากลักษณะ 4 ประการ ดังต่อไปนี้
1. การบริหารงานเป็นอิสระ เจ้าของเป็นผู้บริหารงานเอง
2.บุคคลเดียวหรือกลุ่มเล็ก ๆ กลุ่มหนึ่งจัดหาเงินทุนและเป็นเจ้าของธุรกิจ 3. ขอบเขตการดำเนินงานอยู่ใน
ท้อง ถิ่นเป็นส่วนมาก พนักงานและเจ้าของอาศัย อยู่ในชุม ชนเดียวกัน แต่ตลาดของสินค้าหรือบริการไม่
จำเป็นต้องอยู่ในท้องถิ่นนั้นก็ได้
4. ธุรกิจมีขนาดเล็กเมื่อเปรียบเทียบกับธุรกิจขนาดใหญ่ที่สุดในธุรกิจประเภท เดียวกัน หลัก เกณฑ์ที่ใช้วัด
อาจจะเป็นจำนวนพนักงาน ยอดขาย หรือทรัพย์สิน
การประกอบการขนาดย่อมมีลักษณะ 2 ประการ เหมือนอาชีพอิสระ กล่าวคือ
เป็นอาชีพที่เจ้าของไม่เป็นลูกจ้าง รับเงินเดือนจากนายจ้าง แต่ได้รับค่าตอบแทนจากลูกค้าและเจ้าของกิจการ
เป็นผู้ลงมือกระทำเองใน ฐานะผู้ปฏิบัติงานแต่มีความแตกต่างในเรื่องจำนวนผู้ช่วยปฏิบัติงานและ เงินทุน
ดำเนินงานกล่าวคืออาชีพอิสระจะมีผู้ช่วยปฏิบัติงานไม่เกิน5คนและ ทุนดำเนินการไม่เกิน500,000บาท


ที่มา : http://www.keajon.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น