วันพุธที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2553

วิวัฒนาการขยะ

ขยะเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากฝีมือมนุษย์โดยตรง ยิ่งอัตราการขยายตัวของจำนวน ประชากรเพิ่มมากขึ้นมากเท่าไรปริมาณขยะก็จะยิ่งทวีเพิ่มมากขึ้น เท่านั้น และในปัจจุบัน ขยะได้เปลี่ยนรูปแบบไปมากขึ้นเรื่อยๆ จากเดิมนั้น ขยะที่เราพบเห็นกันอยู่ทั่วไปมักจะเป็นเศษกระดาษ แก้ว พลาสติก หรือโฟม แต่ทุกวันนี้ ปัญหาขยะที่เกิดจากความเจริญทางด้านเทคโนโลยีชั้นสูงในการกำจัด เพียงแค่การจัดการปัญหาขยะเดิมๆ ก็ยังไม่สามารถที่จะจัดการให้หมดหรือลดลงไปได้
ชึ่งในปัจจุบัน เราอาจแยกขยะออกเป็น 4 ประเภท ตามความยากง่ายของการย่อยสลาย หรือการเน่าเปื่อย และความเป็นพิษได้ดังนี้

1. ขยะมูลฝอยที่ย่อยสลายได้
เป็นขยะมูลฝอยที่เป็นสารอินทรีย์ที่สามารถนำมาหมักเป็นปุ๋ยได้ เช่น เศษอาหาร เศษผัก เศษผลไม้ มูลสัตว์และซากสัตว์ เป็นต้น
2. ขยะมูลฝอยทั่วไป
เป็นขยะมูลฝอยที่เป็นสารอนินทรีย์ ซึ่งจะย่อยสลายไม่ได้ ไม่เป็นขยะมูลฝอยอันตราย แต่รีไซเคิลได้ยาก หรือไม่คุ้มค่าในการนำไปรีไซเคิล เช่น เศษวัสดุก่อสร้าง เถ้าฝุ่นละอองจากถนน และถุงพลาสติกในขนม เป็นต้น
3. ขยะมูลฝอยที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้
หรือขยะมูลฝอยมีค่า หรือขยะมูลฝอยรีไซเคิลเป็นขยะมูลฝอยที่สามารถนำมาขายเพื่อส่งไปผลิตเป็น ผลิตภัณฑ์ใหม่ได้ เช่น เศษโลหะ ถุงพลาสติก กล่องกระดาษ กระดาษหนังสือพิมพ์ ขวดแก้ว ขวด กระป๋องโลหะ เป็นต้น
4. ขยะมูลฝอยอันตราย
เช่น ขยะมูลฝอยปนเปื้อนสารกัมมันตรังสี สารเคมีทิ้งแล้ว ยาเสื่อมสภาพ ของมีคม ภาชนะที่มีแรงดันและขยะมูลฝอยติดเชื้อ เป็นต้น

สำหรับในประเทศไทยนั้น วิกฤตปัญหาขยะได้ส่อเค้าทวีความรุนแรงมากขึ้น โดยในช่วงปี 2544 ที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน คาดว่ากากของเสียอันตรายได้เพิ่มมากขึ้นถึง 2.8 ล้านตัน โดยร้อยละ 73 หรือ 3 ใน 4 นั้นเกิดจากภาคอุตสาหกรรม ส่วนที่เหลือจะกระจายอยู่ตามพาณิชยกรรม สถานบริการ สถานพยาบาล ท่าเรือและกิจการเดินเรือ บ้านเรือนและภาคเกษตรกรรม โดยที่กากของเสียเหล่านี้ ได้รับการบำบัดและกำจัดได้เพียง 520,000 ตันต่อปี หรือร้อยละ 43 เท่านั้น และสำหรับปัญหาที่เกิดขึ้นกับสังคมเมือง ซึ่งเกิดขึ้นจากกิจกรรมภายในครัวเรือนก็ทวีความรุนแรงมากขึ้นทุกขณะเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นปัญหาขยะที่จากแหล่งชุมชน หรืออาคารบ้านเรือน ปัญหาขยะที่มาจากการทำความสะอาดทางเท้า หรือในที่สาธารณะ รวมไปถึงปัญหาขยะจากวัสดุอุปกรณ์ทางเทคโนโลยี ที่ไม่ได้รับการกำจัดอย่างถูกวิธี โดยภาพสะท้อนของปัญหาเหล่านี้ได้สะสมมาเป็นเวลานาน ซึ่งมีผลกระทบโดยตรงกับการดำเนินชีวิต โดยเฉพาะปัญหาด้านสุขภาพทั้งทางกายและใจ ทำให้รัฐบาลต้องเสียค่าใช้จ่าย เป็นจำนวนมหาศาลในแต่ละปัญหา

http://www.deqp.go.th/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น